วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562

“จีนสั่งให้ไปก้องเมื่อไรก็ไปเมื่อนั้น ถูกลวงทั้งก้องทั้งซิ่ว ไม่มีอายขายหน้า โง่งมงายตลอด”


พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ไม่ปรากฏนามศิลปิน, สีฝุ่น สมัยรัชกาลที่ 4 ประดิษฐานในพระที่นั่งอัมพรสถาน กรุงเทพฯ 
(ภาพจากหนังสือจิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก เล่มที่ 1)

 วาทะประวัติศาสตร์

“จีนสั่งให้ไปก้องเมื่อไรก็ไปเมื่อนั้น ถูกลวงทั้งก้องทั้งซิ่ว ไม่มีอายขายหน้า โง่งมงายตลอด”

บางส่วนของพระบรมราชวินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเผยแพร่แก่สาธารณะเมื่อปี 2411 กรณีการส่งจิ้มก้อง หรือเครื่องบรรณาการไปยังประเทศจีน

“…ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินไทยในเวลาล่วงแล้วนั้น ไม่มีความกระด้างกระเดื่องว่าพวกจีนล่อลวงให้เสียยศ จีนสั่งให้ไปก้องเมื่อไรก็ไปเมื่อนั้น ถูกลวงทั้งก้องทั้งซิ่ว ไม่มีอายขายหน้า โง่งมงายตลอดลงมาหลายชั่วอายุคน ความโง่เป็นไปทั้งนี้ ต้นเหตุใหญ่เพราะว่าหนังสือจีนรู้โดยยากที่สุด ไม่เหมือนหนังสือไทยแลหนังสือต่างประเทศทั้งหลายพอจะรู้ได้บ้าง ก็ไทยแท้มิใช่บุตรจีนรู้หนังสือจีนก็ไม่มี ก็เมื่องมงายโง่มาหลายชั่วอายุคนแล้ว พระเจ้าแผ่นดินไทยทั้งหลายในเวลาก่อนนั้น แลเสนาบดีไทยก็โง่งมมาด้วยหลายชั่วแผ่นดินนั้น เพราะความมักง่าย ครั้นทูตเก่าแลล่ามเก่าตายไปหมดแล้ว ได้ยินว่าคราวหนึ่งมีล่ามจีนเป็นคนซื่อแปลความตามฉบับหนังสือจีนที่จริงแจ้งความจริงให้ท่านเสนาบดีไทยในเวลาที่ล่วงแล้วเป็นลำดับมานั้นให้รู้แท้แน่ว่า จีนกวางตุ้งดูหมิ่นดูแคลนมีหนังสือมาสั่งให้ไปก้อง คือให้ไปอ่อนน้อม…”
บางส่วนของพระบรมราชวินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเผยแพร่แก่สาธารณะเมื่อปี 2411 กรณีการส่งจิ้มก้อง หรือเครื่องบรรณาการไปยังประเทศจีน
ทั้งนี้ ธรรมเนียมการจิ้มก้องของรัฐบนดินแดนไทยในอดีตมีมานานหลายร้อยปี อาจจะมีขาดช่วงไปบ้าง แต่ก็ถูกฟื้นฟูขึ้นเรื่อยมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ และแม้จะมีลักษณะของการแสดงความนอบน้อมต่อรัฐใหญ่ แต่การอยู่ในสถานะรัฐบรรณาการของจีนก็ทำให้รัฐไทยสมัยนั้นๆ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าเป็นการตอบแทนด้วยเช่นกัน และข้อสังเกตอีกประการคือ สยามส่งเครื่องบรรณาการไปให้จีนเป็นครั้งสุดท้ายคือปี พ.ศ. 2396 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่จีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นรอบแรกมาแล้ว หลังจากนั้นอีกสองปี สยามก็ลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง จากนั้นอีกเพียงหนึ่งปีก็เกิดสงครามฝิ่นขึ้นอีกครั้ง ช่วงระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นภาวะที่จีนกำลังตกต่ำอย่างหนัก ขณะที่อิทธิพลของอังกฤษกำลังเฟื่องฟู


อ่านเพิ่มเติมได้ใน ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ หน้าหนึ่งในสยาม โดย ไกรฤกษ์ นานา

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562


วิหารพันปีขนาดยักษ์ที่ถูกแกะสลักจากหินก้อนเดียว นี่คือสิ่งมหัศจรรย์ของโลกลำดับที่ 8

วัด kailasa ถูกแกะสลักอย่างน่าอัศจรรย์จากหินก้อนเดียว นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักกันว่า 'ถ้ำ 16' ของถ้ำ ellora และเป็นที่รู้จักกันสำหรับการเป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ถูกแกะสลักออกจากหินก้อนเดียว อินเดีย



ถ้าพูดถึง “7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก” หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าที่ไหนที่ถูกจัดให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกบ้าง เพราะการจัดอันดับเหล่านี้มีมาหลายยุคหลายสมัย แต่ถ้าเรานับจากการจัดอันดับจากองค์กร The New Open World Corporation (NOWC) ในปี ค.ศ. 2007 ที่ระบุ “7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคใหม่” ได้สรุปเอาไว้คือ กำแพงเมืองจีน, วิหารชีเชน อิตซา, รูปปั้นพระเยซูคริสต์, นครเปตรา, มาชูปิกชู, โคลอสเซียม และ ทัชมาฮาล แต่อย่างที่เราทราบกันดีว่า บนโลกเราใบนี้ยังมีสิ่งมหัศจรรย์ที่น่าทึ่งอีกมากมาย และวันนี้เพชรมายาจะขอพาทุกท่านไปรู้จักกับอีกหนึ่งสิ่งที่ชาวเน็ตยกให้เป็น สิ่งมหัศจรรย์ของโลกลำดับที่ 8 เลยทีเดียว
วิหารไกรลาส (Kailasa Temple) คือวิหารที่ตั้งอยู่ในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ที่ถูกแกะสลักขึ้นตั้งแต่ในศตวรรษที่ 8 ในสมัยจักรวรรดิราษฏรกูฏ เพื่ออุทิศให้กับพระศิวะ เทพเจ้าผู้สูงส่งตามความเชื่อของชาวฮินดวิหารที่มีอายุเก่าแก่กว่า 1,300 ปีแห่งนี้ ถือเป็นโบราณสถานของชาวฮินดูที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
สิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวทุกคนต้องทึ่งก็คือ วิหารทั้งหมดถูกแกะสลักจากก้อนหินก้อนเดียวเข้ามาบนเนินของภูเขา
นักโบราณคดีได้คำนวนน้ำหนักหินก้อนนี้ คาดว่ามันน่าจะมีน้ำหนักมากถึง 4 แสนตัน
ถ้าคุณอยู่ในจุดที่เหมาะสมบนเทือกเขาหิมาลัย ก็จะสามารถมองเห็นวิหารไกรลาสได้ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่านี่คือที่สถิตย์ของเทพเจ้า
สถาปัตยกรรมโบราณที่มีอายุนับพันปีแห่งนี้ ทำให้คนรุ่นใหม่ต้องงุนงงกับความสามารถของคนโบราณ ที่ล้ำหน้ากว่าที่คิดมากนัก
อ้างอิงจากนักโบราณคดี การแกะสลักวิหารที่ยิ่งใหญ่และมีรายละเอียดมากขนาดนี้ในยุคโบราณ ควรจะต้องใช้เวลานับร้อยปี
แต่จริงๆ แล้ววิหารแห่งนี้ใช้เวลาสร้างไม่ถึง 18 ปีด้วยซ้ำไป
นอกจากนั้น ตัววิหารทั้งหมดยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีขนาดพอๆ กับทัชมาฮาล
งานแกะสลักบริเวณกำแพงต่างๆ บอกเล่าเรื่องราวความเชื่อตามตำนานของชาวฮินดูเอาไว้อย่างละเอียด
และด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้ จึงทำให้บรรดานักท่องเที่ยวต่างยกให้วิหารไกรลาส ควรจะเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกนั่นเอง
ขอขอบคุณที่มา : boredpanda |และผู้เรียบเรียงโดย เพชรมายา

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เปิดภาพ “หลุมดำ” ภาพแรกของโลก กลางกาแล็กซี เอ็ม87






This image released Wednesday, April 10, 2019, by Event Horizon Telescope shows a black hole. / AP

เปิดภาพหลุมดำ ภาพแรกของโลก กลางกาแล็กซี เอ็ม87

เปิดภาพหลุมดำ – เมื่อ 10 เม.ย.  ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติจัดแถลงข่าวที่สโมสรสื่อมวลชนแห่งชาติ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เปิดเผยภาพหลุมดำ ภาพแรกของโลก ถ่ายได้จากกล้องโทรทรรศน์วิทยุ 8 แห่งทั่วโลก ตามโครงการ อีเวนต์ ฮอไรซัน เทเลสโคป หรือ อีเอชที (EHT)  เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ  และเป็นหลักฐานแรกถึงการมีอยู่ของหลุมดำ

คณะนักวิทยาศาสตร์เผยแพร่ภาพที่สร้างความฮือฮาไปทั่วโลก ตรงกับเวลา 20.00 น. วันที่ 10 เม.ย. ตามเวลาไทย
ภาพแรกเป็นภาพถ่ายหลุมดำกลางกาแล็กซี Messier 87 หรือ เอ็ม87 กาแล็กซีรูปไข่ หรือแบบวงรี ใกล้กระจุกกาแล็กซีเวอร์โก และมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 6,500 ล้านเท่า อยู่ห่างจากโลกไปกว่า 53.49 ล้านปีแสง
Scientists revealed the first image ever made of a black hole after assembling data gathered by a network of radio telescopes around the world. (Event Horizon Telescope Collaboration/Maunakea Observatories via AP
ทุกอย่างนั้นเป็นไปตามหลักทฤษฎีสัมพัทธภาพของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ยอดนักฟิสิกส์ที่คาดการณ์สิ่งนี้ไว้แล้วเมื่อกว่า 100 ปีก่อน
ส่วนอีกหลุมดำที่เปิดเผยตามมาอยู่บริเวณซาจิตทาเรียส เอ (Sgr A) ใจกลางกาแล็กซี ทางช้างเผือก หรือ มิลกี เวย์ ที่โลกและระบบสุริยจักรวาลตั้งอยู่ บริเวณแห่งนี้มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 4 ล้านเท่า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 24 ล้านกิโลเมตร อยู่ห่างไปราว 26,000 ปีแสง หรือราว 245 ล้านล้านก.ม.
การแถลงข่าวที่วอชิงตัน Event Horizon Telescope Director Sheperd Doeleman reveals the first photograph of a black hole during a news conference organized by the National Science Foundation at the National Press Club April 10, 2019 in Washington, DC. Chip Somodevilla/Getty Images/AFP
หลุมดำ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเนื่องจากมีแรงโน้มถ่วงมหาศาล แม้แต่แสงก็ไม่สามารถเล็ดรอดออกมาได้ นักวิทยาศาสตร์จะต้องใช้เทคนิคพิเศษในการตรวจจับหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุและคลื่นแรงโน้มถ่วงของหลุมดำ จนถึงปัจจุบันค้นพบหลุมดำมาอย่างน้อย 6 แห่ง
ก่อนหน้านี้ ได้เพียงอาศัยการเก็บข้อมูลทางอ้อม เช่น กรณีศูนย์วิจัยไลโกที่สหรัฐอเมริกา ตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงที่เกิดมาจากหลุมดำ 2 หลุม รวมตัวกัน เมื่อเดือนก.ย. 2558
ตอนนั้นมีนางสาวณัฐสินี กิจบุญชู หรือ น้องเมียม นักศึกษาไทยผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ของไลโก ประจำสถานีตรวจวัด เขตแฮนฟอร์ด กรุงวอชิงตัน ตอนที่เครื่องตรวจวัดค้นพบคลื่นดังกล่าว ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ผู้นำทีม 3 คน พิชิตรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2560
NASA
คำถามนักดาราศาสตร์ ที่น่าสนใจ