วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เปิดภาพ “หลุมดำ” ภาพแรกของโลก กลางกาแล็กซี เอ็ม87






This image released Wednesday, April 10, 2019, by Event Horizon Telescope shows a black hole. / AP

เปิดภาพหลุมดำ ภาพแรกของโลก กลางกาแล็กซี เอ็ม87

เปิดภาพหลุมดำ – เมื่อ 10 เม.ย.  ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติจัดแถลงข่าวที่สโมสรสื่อมวลชนแห่งชาติ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เปิดเผยภาพหลุมดำ ภาพแรกของโลก ถ่ายได้จากกล้องโทรทรรศน์วิทยุ 8 แห่งทั่วโลก ตามโครงการ อีเวนต์ ฮอไรซัน เทเลสโคป หรือ อีเอชที (EHT)  เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ  และเป็นหลักฐานแรกถึงการมีอยู่ของหลุมดำ

คณะนักวิทยาศาสตร์เผยแพร่ภาพที่สร้างความฮือฮาไปทั่วโลก ตรงกับเวลา 20.00 น. วันที่ 10 เม.ย. ตามเวลาไทย
ภาพแรกเป็นภาพถ่ายหลุมดำกลางกาแล็กซี Messier 87 หรือ เอ็ม87 กาแล็กซีรูปไข่ หรือแบบวงรี ใกล้กระจุกกาแล็กซีเวอร์โก และมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 6,500 ล้านเท่า อยู่ห่างจากโลกไปกว่า 53.49 ล้านปีแสง
Scientists revealed the first image ever made of a black hole after assembling data gathered by a network of radio telescopes around the world. (Event Horizon Telescope Collaboration/Maunakea Observatories via AP
ทุกอย่างนั้นเป็นไปตามหลักทฤษฎีสัมพัทธภาพของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ยอดนักฟิสิกส์ที่คาดการณ์สิ่งนี้ไว้แล้วเมื่อกว่า 100 ปีก่อน
ส่วนอีกหลุมดำที่เปิดเผยตามมาอยู่บริเวณซาจิตทาเรียส เอ (Sgr A) ใจกลางกาแล็กซี ทางช้างเผือก หรือ มิลกี เวย์ ที่โลกและระบบสุริยจักรวาลตั้งอยู่ บริเวณแห่งนี้มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 4 ล้านเท่า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 24 ล้านกิโลเมตร อยู่ห่างไปราว 26,000 ปีแสง หรือราว 245 ล้านล้านก.ม.
การแถลงข่าวที่วอชิงตัน Event Horizon Telescope Director Sheperd Doeleman reveals the first photograph of a black hole during a news conference organized by the National Science Foundation at the National Press Club April 10, 2019 in Washington, DC. Chip Somodevilla/Getty Images/AFP
หลุมดำ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเนื่องจากมีแรงโน้มถ่วงมหาศาล แม้แต่แสงก็ไม่สามารถเล็ดรอดออกมาได้ นักวิทยาศาสตร์จะต้องใช้เทคนิคพิเศษในการตรวจจับหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุและคลื่นแรงโน้มถ่วงของหลุมดำ จนถึงปัจจุบันค้นพบหลุมดำมาอย่างน้อย 6 แห่ง
ก่อนหน้านี้ ได้เพียงอาศัยการเก็บข้อมูลทางอ้อม เช่น กรณีศูนย์วิจัยไลโกที่สหรัฐอเมริกา ตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงที่เกิดมาจากหลุมดำ 2 หลุม รวมตัวกัน เมื่อเดือนก.ย. 2558
ตอนนั้นมีนางสาวณัฐสินี กิจบุญชู หรือ น้องเมียม นักศึกษาไทยผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ของไลโก ประจำสถานีตรวจวัด เขตแฮนฟอร์ด กรุงวอชิงตัน ตอนที่เครื่องตรวจวัดค้นพบคลื่นดังกล่าว ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ผู้นำทีม 3 คน พิชิตรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2560
NASA
คำถามนักดาราศาสตร์ ที่น่าสนใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น