วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ปล้นชิงเพื่อรักษา? พาย้อนประวัติศาสตร์ 2 ล้านปีที่ British Museum | 8 Mi...

เอาผิด 'ปูติน' ส่งทหารรัสเซียก่อสงคราม-อาชญากรรมในยูเครน | workpointTODAY

สารคดี โจเซฟ สตาลิน | จากคนธรรมดาสู่ผู้นำสหภาพโซเวียต

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565

รู้รอบโลกกับปู่แอด 23-10 : "เบื้องหลังการอุ้ม หูจินเทา ก่อน สีจินผิ้งขึ้...

ทำความรู้จักกลุ่มผู้ครองอำนาจสูงสุดในจีน

ในที่สุด พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ได้เปิดตัวคณะผู้นำชุดใหม่ที่จะปกครองจีนไปอีก 5 ปี

ทีมผู้บริหารซึ่งนายสี จิ้นผิง เป็นคนเลือกล้วนเป็นสมาชิกใหม่ ยกเว้น จ้าว เล่อจี้ และหวัง ฮู่หนิง
ทีมผู้บริหารซึ่งนายสี จิ้นผิง เป็นคนเลือกล้วนเป็นสมาชิกใหม่ ยกเว้น จ้าว เล่อจี้ และหวัง ฮู่หนิง© EPA

คณะกรรมการกรมการเมือง (Politburo Standing Committee) มีอำนาจสูงเทียบเท่ากับคณะรัฐมนตรีในประเทศอื่น ๆ โดยในบริบทการเมืองจีน พวกเขาถือว่าเป็นชนชั้นปกครองสูงสุด นอกจากต้องมีประวัติเส้นทางการเมืองที่ยอดเยี่ยมแล้ว พวกเขาต้องสามารถเอาชนะคู่แข่งภายในพรรคตัวเองมาได้ด้วย

ไม่แปลกที่มีการปรับเปลี่ยนทีมผู้บริหารชุดใหม่ทุกครั้งที่ประธานาธิบดีจีนเข้ารับตำแหน่งในสมัยใหม่ โดยในครั้งนี้ ทีมผู้บริหารซึ่งนายสี จิ้นผิง เป็นคนเลือกล้วนเป็นสมาชิกใหม่ ยกเว้น จ้าว เล่อจี้ และหวัง ฮู่หนิง

หลี่ เฉียง
หลี่ เฉียง© Reuters

หลี่ เฉียง

อายุ 63 ปี

ตำแหน่ง : เลขาธิการพรรคประจำนครเซี่ยงไฮ้

หลี่ เฉียง ถูกมองว่าเป็นเพื่อนร่วมงานที่นายสีเชื่อใจที่สุด เมื่อครั้งที่นายสีเคยเป็นหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ในมณฑลเจ้อเจียง นายหลี่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะทำงานของเขา

การจัดการวิกฤตโควิดของเขาที่เซี่ยงไฮ้ในช่วงที่ผ่านมาในปีนี้โดนประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้คาดเดากันว่าอาจส่งผลต่ออนาคตทางการเมืองของเขา

อย่างไรก็ดี การแต่งตั้งในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการจงรักภักดีต่อนายสีเป็นผลดีต่อเขา ในปีหน้า จะมีการยืนยันตำแหน่งของแต่ละคนในคณะกรรมการกรมการเมือง หลายคนเชื่อว่านายหลี่จะได้ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่

จ้าว เล่อจี้
จ้าว เล่อจี้© Reuters

จ้าว เล่อจี้

อายุ 65 ปี

ตำแหน่ง : เลขาธิการคณะกรรมการตรวจสอบวินัยศูนย์กลางพรรค

นายจ้าวถูกมองว่าเป็นดาวรุ่งในหมู่ชนชั้นปกครองจีน และมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมณฑลส่านซีเหมือนกับนายสี

หลังเข้าร่วมรัฐบาลมณฑลชิงไห่ เขาไต่เต้าอย่างรวดเร็วจนได้เป็นผู้ว่าการมณฑลชิงไห่ขณะอายุ 42 ปี ซึ่งถือว่าเป็นผู้ว่าการมณฑลที่อายุน้อยที่สุดที่เคยมีมา

นายจ้าวเป็นหัวหน้าคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตของพรรค มีหน้าที่รักษาระเบียบวินัยของพรรค และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นผู้รายงานปราบปรามเจ้าหน้าที่อาวุโสที่รับสินบนหลายราย

หวัง ฮู่หนิง
หวัง ฮู่หนิง© Reuters

หวัง ฮู่หนิง

อายุ 67 ปี

ตำแหน่ง : เลขาธิการสำนักเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์

นายหวังเป็นอดีตนักวิชาการที่เริ่มไต่เต้าเลื่อนตำแหน่งหลังทำงานเข้าตาเจ้าหน้าที่อาวุโสหลายคนในพรรค ก่อนจะกลายมาเป็นที่ปรึกษาของอดีตประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน

ในฐานะนักทฤษฎีการเมืองของพรรค นายหวังถือเป็นมันสมองผู้อยู่เบื้องหลังหลายแนวคิดของพรรคคอมมิวนิสต์ รวมถึง "ทฤษฎี 3 ตัวแทน" (Three Represents) ของเจียง เจ๋อหมิน, "แนวคิดการพัฒนาด้วยหลักวิทยาศาสตร์" (Scientific Outlook on Development) ของหู จิ่นเทา และ "แนวคิดของ สี จิ้นผิง เกี่ยวกับสังคมนิยมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบจีนสำหรับศักราชใหม่"

เชื่อกันว่าโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road) ก็เป็นแนวคิดของเขาด้วย

ว่ากันว่าเขาสามารถเข้ากับทุกฝักฝ่ายในพรรคได้

ไช่ ฉี
ไช่ ฉี© Reuters

ไช่ ฉี

อายุ 66 ปี

ตำแหน่ง : นายกเทศมนตรีกรุงปักกิ่ง

นายกเทศมนตรีกรุงปักกิ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดและเคยทำงานกับผู้นำจีนทั้งที่มณฑลฝูเจี้ยนและมณฑลเจ้อเจียง

การที่กรุงปักกิ่งสามารถจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวได้ขณะโควิดกำลังระบาดอยู่ถือเป็นความสำเร็จของเขา

อย่างไรก็ดี นโยบายเขาก็เคยทำให้เกิดกรณีถกเถียงโดยเมื่อปี 2017 เขาเริ่มแผนการพยายามลดจำนวนประชากรในเมืองหลวงของจีนซึ่งในที่สุดแล้วกดดันทำให้คนที่มีรายได้น้อยในกรุงปักกิ่งต้องอพยพออกไป

ติง เซวียเสียง
ติง เซวียเสียง© Reuters

ติง เซวียเสียง

อายุ 60 ปี

ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสำนักงานศูนย์กลางพรรค

วิศวกรผู้นี้เริ่มต้นเส้นทางการเมืองที่ศูนย์วิจัยที่มีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลที่นครเซี่ยงไฮ้

แม้จะไม่มีประสบการณ์เป็นเลขาธิการพรรคระดับมณฑลหรือผู้ว่าการมณฑล แต่เขาได้กลายมาเป็นเลขาธิการของนายสีในปี 2007 และจากปี 2014 เป็นต้นมา เขาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทำงานของประธานาธิบดี

เขาเป็นผู้สนับสนุน "แนวคิดของ สี จิ้นผิง เกี่ยวกับสังคมนิยมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบจีนสำหรับศักราชใหม่" ตัวยง นักสังเกตการณ์หลายคนบอกว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นายติงใช้เวลาอยู่กับผู้นำจีนมากกว่าเจ้าหน้าที่คนไหน ๆ โดยติดตามนายสีไปทั้งในจีนและต่างประเทศ

หลี่ ซี
หลี่ ซี© Reuters

หลี่ ซี

อายุ 66 ปี

ตำแหน่ง : เลขาธิการพรรคประจำมณฑลกวางตุ้ง

หลี่ ซี มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับครอบครัวของนายสี มองกันว่านายหลี่เป็นผู้แก้วิกฤตหลังกรณีอื้อฉาวเมื่อปี 2017 ที่รัฐบาลมณฑลเหลียวหนิงออกมายอมรับว่าปลอมแปลงข้อมูลเศรษฐกิจ

นายหลี่เคยเป็นหัวหน้าพรรคในเมืองหยานอันซึ่งเหมา เจ๋อตุง เคยใช้เป็นสำนักงานใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นเมืองที่นายสี เคยใช้ถูกใช้แรงงานหนักอยู่ 7 ปี

นอกจากนี้ นายหลี่เป็นผู้ผลักดันพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการปฏิรูปเศรษฐกิจที่มณฑลกวางตุ้งอีกด้วย 

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ภาพป้ายประท้วง 'สี จิ้นผิง' หลุดลงโซเชียลรัวๆ สะท้อนแรงต้านผู้นำครั้งใหญ...

ภาพป้ายประท้วง 'สี จิ้นผิง' หลุดลงโซเชียลรัวๆ สะท้อนแรงต้านผู้นำครั้งใหญ...

เส้นทาง ‘สีจิ้นผิง’ ก่อนก้าวขึ้นเป็นผู้นำทรงอิทธิพลของโลก | KEY MESSAGES

รัสเซีย-ยูเครน เฟส 2 วันโลกาวินาศ? | Executive Espresso EP.384

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565

10อันดับ ปริศนา ของโลกใบนี้สมัยอดีต

จุดเริ่มต้นการเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนเพื่อคนผิวสีในอเมริกา | 8 Minute His...

ความสัมพันธ์ของมุสโสลินีกับฮิตเลอร์ และจุดจบเผด็จการฟาสซิสต์ | 8 Minute ...

เผด็จการ “ฟาสชิสต์” คืออะไร? [ ร่วมกด JOIN สนับสนุนเราหน่อยนะ ]

เช เกวาร่า นักปฏิวัติ ไอคอน และ มนุษย์คนหนึ่ง [ ร่วมกด JOIN สนับสนุนเราห...

สารคดี Che Guevara จากหมอสู่นักปฏิวัติ [เล่าเส้นทางชีวิตแบบละเอียด]

อะไรจะเกิดขึ้น หากภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่เกิดขึ้นบนโลก

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2565

🇹🇭 THA vs. 🇷🇸 SRB - Highlights Week 1 | Women's VNL 2022

สารคดี Joseph Goebbels จอมวางแผนแห่งนาซี | ฉบับวิดีโอ

สารคดี 3 ผู้นำฝ่ายอักษะใน WW2 | Hirohito Mussolini Hitler | ม้วนเดียวจบ

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565

เมื่อพวกเค้าพบวิธี "โค่นอำนาจเผด็จการนาซี" lสปอยหนังl ยุทธการดับจอมอหัง...

อิตาลีภายใต้เผด็จการ Benito Mussolini แห่งพรรคฟาสซิสต์ | 8 Minute Histor...

สารคดี Benito Mussolini | ลาออกจากครูเพื่อยึดประเทศ

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2565

จากผนวก 4 ดินแดน สู่ 143 ชาติประณามรัสเซีย อาวุธ ‘นิวเคลียร์’ หนทางสุดท้...

สัมภาษณ์พิเศษ: อ.นันทนา ปรากฏการณ์โน้ต13เรื่องปกติ อย่าเต้นเกินเหตุ ทัวร...

30 อันดับแรกของโลกวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติ จบศึกชิงแชมป์โลก 2022

ประวัติศาสตร์จีน3ยุค : กว่าจะมาเป็นประเทศจีน จากยุคโบราณปกครองโดย จักรพร...

สุดชื่นมื่น! ทีมนักตบลูกยางสาวไทยรับเงินโบนัสพิเศษจำนวน 10 ล้านบาท : FEED

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2565

เขมรแดงep1/2 : กำเนิดเขมรแดง...ทุ่งสังหารที่ไม่ใช่แค่ตำนาน.... แต่คือเรื...

เขมรแดงep2/2 : ทุ่ง​สังหาร​ที่​ไม่ใช่​แค่​ตำนาน...อวสานเขมรแดง

คนเปลี่ยนเกม! 'กัปตันสาวตุรกี' ยอมรับความพ่ายแพ้ชี้หนึ่งผู้เล่นไทยสุดสำคัญ

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2565

สารคดีสงครามเวียดนาม(Vietnam War)​

สงครามเวียดนาม (เวียดนาม: Chiến tranh Việt Nam) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง และในเวียดนามเรียก สงครามต่อต้านอเมริกา (เวียดนาม: Kháng chiến chống Mỹ) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า สงครามอเมริกา เป็นความขัดแย้งในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2498จนกรุงไซ่ง่อนถูกยึด เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 เป็นสงครามอินโดจีนครั้งที่สองและเป็นการต่อสู้ระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการ เวียดนามเหนือได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต จีน และประเทศพันธมิตรฝ่ายลัทธิคอมมิวนิสต์อื่น เวียดนามใต้ได้รับการสนับสนุนโดยสหรัฐ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ไทย และประเทศพันธมิตรฝ่ายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อื่นบางคนถือสงครามนี้เป็นสงครามตัวแทนในยุคสงครามเย็นซึ่งกินระยะเวลาถึง 19 ปี โดยการมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงของสหรัฐสิ้นสุดลงในปี 2516 และรวมไปถึงสงครามกลางเมืองลาว และสงครามกลางเมืองกัมพูชาซึ่งจบลงด้วยทั้งสามประเทศได้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ในปี 2518


ขมรแดง (เขมร: ខ្មែរក្រហម, แขฺมรกฺรหม อ่านว่า คแมร์กรอฮอม; ฝรั่งเศส: Khmer Rouge)

ขมรแดง (เขมร: ខ្មែរក្រហម, แขฺมรกฺรหม อ่านว่า คแมร์กรอฮอม; ฝรั่งเศส: Khmer Rouge)หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” (Armée nationale du Kampuchéa démocratique) คือ กองกำลังคอมมิวนิสต์กัมพูชา ที่เคยปกครองราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522


วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565

พม่าขุดอุโมงค์อย่างไร? รบกับอยุธยาในอุโมงค์ “ฆ่าฟันล้มตายกันมาก” สมัยพระเจ้าตากสิน

พม่าขุดอุโมงค์อย่างไร? รบกับอยุธยาในอุโมงค์ “ฆ่าฟันล้มตายกันมาก” สมัยพระเจ้าตากสิน


กำแพงพระราชวังกรุงศรีอยุธยา (กำแพงกรุงฯ นั้นจะใหญ่กว่านี้มาก) จากหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 63 เรื่องกรุงเก่า หนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพพระยาโบราณราชธานินทร์(พร เดชะคุปต์ ) พ.ศ.2479 ห้องสมุดอเนก นาวิกมูล ซีดี 00687-020-

หมายเหตุ-เรื่องนี้ไม่อาจสรุปให้ชัดเจนได้เพราะทำไปทำมาข้อมูลยังไม่แน่นพอ ขอให้อ่านพอเป็นฐานแล้วช่วยกันหาคำตอบที่ชัดเจนกว่านี้

ผมเคยเขียนเรื่อง รบพม่าในอุโมงค์ ด้วยเหตุหยิบพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สำนักพิมพ์คลังวิทยา 2516 มาอ่าน พลิกไปที่หน้า 402 เห็นเรื่องแปลก เป็นเหตุการณ์สมัยพระเจ้าตากสินเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว (ครองราชย์ พ.ศ.2313-2325) ทรงยกกองทัพขึ้นไปรบกับพม่าที่พิษณุโลก

พงศาวดารว่าวันหนึ่ง ร.1 (นามเดิมว่าด้วง) ขณะเป็นเจ้าพระยาจักรี ยกพลทหารออกไปตั้งค่ายประชิดค่ายพม่านอกเมืองพิษณุโลก ฟากตะวันออก

พม่าออกมารบ สามารถชิงค่ายของ ร.1 ได้

นายบุญมา น้อง ร.1 ขับพลทหารหนุนเข้าไปช่วยพี่ ฆ่าพม่าล้มตายและได้รับความลำบากไปเป็นอันมาก พม่าแตกถอยเข้าค่ายซึ่งอยู่ชิดค่ายไทยน่าจะไม่กี่สิบวา

พม่าไม่หยุดยั้ง “พม่าขุดอุโมงค์เดินใต้ดินเข้ามารบทุกค่าย”

ฝ่ายทหารไทยก็กล้าแกร่งพอกัน ทหารไทยขุดอุโมงค์ออกไปจากค่ายทุกค่ายจนอุโมงค์ทะลุถึงกัน

“ได้รบกันกับทัพพม่าในอุโมงค์” ฆ่าฟันล้มตายกันเป็นอันมาก

ตรงนี้แหละที่ผมมีคำถามว่าขุดอุโมงค์อย่างไร ขุดเป็นหลอดแบบลอดทะเล ลอดแม่น้ำ หรืออย่างไร ใช้วิชาช่างอย่างไร จึงจะไม่ให้ดินพังลงมาทับตัวเองตาย

ป้อมประตูข้าวเปลือก อยุธยา พ.ศ.2517 – BW-00018-025-ส6กค2517

จากนั้นก็ทิ้งคำถามนั้นเป็นเวลานานหลายเดือน หาได้นึกออกไม่ ว่าคำเฉลยมีอยู่เล็กน้อยในหนังสือพระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำฯ กรมหลวงนรินทรเทวี ซึ่งเคยอ่านผ่านตา

ร.5 ทรงเคยอธิบายเรื่องขุดอุโมงค์ไว้สั้นๆ ในหน้า 94

ถ้าอยากดูแบบง่ายๆ ก็เอาฉบับสำนักพิมพ์ต้นฉบับจัดพิมพ์ พ.ศ.2546 มากาง

หนังสือกล่าวว่าตอนเสียกรุง พ.ศ.2310 พระเจ้าตาก(ยังไม่เป็นกษัตริย์) พากองกำลัง 500 คนหนีออกจากอยุธยา

กรมหลวงนรินทรฯ จดว่าในวันนั้น “พม่าขุดอุโมงค์เข้าเผาเมือง ได้ด้านวังหน้าก่อน”

ร.5 ทรงขยายความว่า ขุดอุโมงค์ในที่นี้หมายถึงขุดรางลงไปตามริมกำแพง….

“เอาเชื้อเพลิงเผาให้กำแพงทรุด ดูเถอะพม่ามันมีกำลังอะไรจะยกหักเข้าในกำแพงก็ไม่ได้ ดูเถอะชาวเมืองช่างนั่งให้พม่ามันมาสุมไฟริมกำแพงได้ มันเหลวเข้าหากันทั้งสองฝ่ายเช่นนี้”

ฟังดูเหมือนขุดลอดกำแพงตรงๆ แล้วเอาไฟสุม มีฐานกำแพงเป็นตัวกันถล่มหรืออย่างไร?

ร.5 ทรงปลงสังเวชที่ชาวอยุธยาปล่อยให้พม่าขุดอุโมงค์บุกเข้ามาได้ จนที่สุดเราก็ต้องเสียกรุง

นับว่าการขุดอุโมงค์ตามกำแพงเป็นกลศึกอย่างหนึ่งที่ใช้กันมานานพอสมควร ควรที่นักประวัติศาสตร์จะหารายละเอียดมายันกันอีก

ข้อมูลจาก : ศิลปวัฒนธรรม
edit: thongkrm_virut@yahoo.com

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2565

การปฏิวัติดอกมะลิ(Jasmine Revolution)

 














              การปฏิวัติดอกมะลิ(Jasmine Revolution) : ขอขอบคุณข้อมูลที่นำมาจากเอกสารศึกษาของท่านอาจารย์ นภาพร เกาะทอง ท่านสามารถอ่านเอกสารทั้งหมดได้ที่ : http://www.pw.ac.th/emedia/media/social/global_napaporn/globalEdUnit6.pdf

 การปฏิวัติประชาชน


“การปฏิวัติประชาชน” ในมุมมองของนักลัทธิเศรษฐกิจการเมือง (ข้อเขียนต่อไปนี้เป็นข้อเขียนที่สรุปจากหนังสือ” “ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ.2518 ซึ่งเขียนโดยท่านอาจารย์ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ว่า “การปฏิวัติประชาชน” ในมุมมองของลัทธิเศรษฐกิจการเมือง ในเชิงเปรียบเทียบถึงความสำเร็จ และล้มเหลว และสาเหตุ ที่จะเป็นการจุดประกายความคิดและประสพการณ์ต่อไปในภายภาคหน้า) ในทุกๆหัวข้อการศึกษาย่อมมีงานคลาสสิกในความหมายที่ว่า เป็นงานซึ่งจุดประกายความคิด คุณภาพสูง หรือมีความรอบด้านอย่างกว้างขวางจนเป็นที่จำเป็นจะต้องอ่านสำหรับผู้ที่เริ่มต้นศึกษาในหัวข้อนั้นๆ สำหรับหัวข้อ “ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง” ซึ่งเขียนเป็นภาษาไทยงานของ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา น่าที่จะสามารถจัดอยู่ในกลุ่มนั้นได้ไม่ยากนัก งานเรื่อง “ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง” ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ.2518 เล่มนี้ ประกอบไปด้วย 10 บทครอบคลุมลัทธิเศรษฐกิจการเมืองอาทิ ลัทธิเทวสิทธิ์, ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิ์, สังคมนิยมยูโทเปีย,ลัทธิประชาธิปไตย เสรีนิยม, มาร์กซิสม์, เลนินนิสม์, สังคมนิยมประชาธิปไตย, ลัทธิเผด็จการ และ ฟาสซิสม์ ซึ่งได้ให้มุมมองต่อจุดยืนของลัทธิเหล่านี้ในเรื่องทาง “เศรษฐกิจ” และ ”การเมือง” เอาไว้และหนึ่งในส่วนที่หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งก็คือ จุดยืนทางการเมืองต่อการปฏิวัติของลัทธิต่างๆ บทความนี้จะทบทวนถึงสิ่งที่ ฉัตรทิพย์ (2518) ได้วิเคราะห์เอาไว้ว่าลัทธิแต่ละลัทธิมีความเห็นต่อการปฏิวัติอย่างไร และเหตุผลเบื้องหลังที่สนับสนุนความเห็นเหล่านั่นเป็นเช่นไรมาสรุปเอาไว้ให้ผู้อ่านทุกท่านได้ทำความเข้าใจ ทว่าการกล่าวถึงการปฏิวัติอันเป็นขอบเขตของบทความนี้จะกล่าวถึงเพียง การปฏิวัติประชาชน (Citizen revolution) เท่านั้น ไม่นับรวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติโดยกำลังทหารในความหมายที่ว่า เป็นสถาบันทางทหารในระบบราชการ-รัฐเองเป็นผู้รัฐประหารหรืออยู่เบื้องหลังการรัฐประหารเสียเอง โดยเริ่มจากลัทธิที่หนังสือกล่าวถึงเป็นท้ายสุดก่อนนั่นคือ ลัทธิเผด็จการฟาสซิสม์ ซึ่งบูชาชาติและรัฐ และถือสิ่งที่เป็นนามธรรมร่วมกันมากกว่าสภาวะความสัมพันธ์ทางสังคมที่เป็นจริงของมนุษย์ แนวคิดเช่นนี้มีรากฐานทางจิตนิยม (idealism) เช่นเดียวกับที่เป็นรากฐานการดำรงอยู่ของลัทธิเทวสิทธิ์ ซึ่งทำให้ลัทธินี้มีแนวโน้มที่จะมองว่าการยึดถือระเบียบของรัฐอย่างไม่มีเงื่อนไข และเน้นความสามัคคีอย่างยิ่งยวดจนละเลยเสรีภาพของเอกชน ดังนั้น, ภายใต้โลกทัศน์เช่นนี้, การปฏิวัติประชาชนจึงไม่ใช่สิ่งที่ลัทธินี้จะยินยอมให้เกิดขึ้นได้เพราะการปฏิวัติประชาชนหมายถึงการประหารรัฐ การทำให้ชีวิตของรัฐไม่ต่อเนื่องขาดตอน ในขณะที่มาร์กซิสม์ และ เลนินนิสม์ มีแนวโน้มที่จะเห็นด้วยกับการทำปฏิวัติประชาชนด้วยสาเหตุที่ว่า ทั้งสองลัทธิมีมุมมองต่อระบอบทุนนิยมในทางลบ ทั้งนี้เพราะระบอบทุนนิยมในความหมายของทั้งสองลัทธินั้น มีนัยคือโครงสร้างของระบบที่ก่อให้เกิดการขูดรีด (exploitation) และการขูดรีดที่ว่ามานี้ก็มีรัฐเป็นส่วนช่วยเหลืออย่างสำคัญให้มันดำเนินต่อไปได้โดยไม่ถูกล้มล้างให้หายไป นัยนี้ รัฐในมุมมองของ มาร์กซิสม์ และ เลนินนิสม์ จึงไม่เป็นกลางแต่เอียงข้างเข้าหาทุน การจะล้มทุนจึงต้องล้มผ่านการล้มรัฐ ที่เรียกว่ารัฐเผด็จการกระฎุมพี (dictatorship of bourgeoisie) ลงเสีย ความแตกต่างอย่างสำคัญของทั้งสองลัทธินี้ก็คือ มาร์กซิสม์มองว่าภาวะของการปฏิวัติประชาชนจะเกิดขึ้นเองโดยภาววิสัย เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกระบวนการขูดรีดจะดำเนินไปจนถึงจุดที่กรรมาชีพซึ่งตกเป็นฝ่ายถูกขูดรีดมีมากเพียงพอจะปฏิวัติ มาร์ซิสม์จึงไม่ได้กล่าวว่า “จงปฏิวัติ” แต่มาร์กซิสม์ทำนายว่า “มันจะเกิดขึ้น” ในแง่นี้มาร์กซิสม์ยอมรับการปฏิวัติประชาชนก็จริงแต่เป็นการยอมรับโดยไม่ได้มีการตัดสินเชิงคุณค่า (moral judgment) ว่าการปฏิวัติประชาชนเป็นเรื่องที่ดีหรือเลวโดยตัวเอง กลับกัน, เลนินนิสม์มองว่าการปฏิวัติเป็นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่ต้องทำให้สำเร็จ แต่เลนินนิสม์ไม่เชื่อว่าการปฏิวัติประชาชนจะเกิดขึ้นเองได้ สำนึกแห่งการปฏิวัติในความเห็นของเลนินนิสม์จะต้องสร้างขึ้นโดยพรรคการเมือง (party) โดยนำเอาชนชั้นที่ถูกขูดรีดทั้งหมดมาเป็นแนวร่วม การที่ใช้ชนชั้นที่ถูกขูดรีดทั้งหมดมาเป็นแนวร่วมนั้นก็หมายความว่าไม่ได้มีเพียงกรรมาชีพเท่านั้นที่จะเข้าร่วมกับการปฏิวัติประชาชน เมื่อไม่จำกัดอยู่เพียงกรรมาชีพการปฏิวัติของเลนินนิสม์จึงเป็นการปฏิวัติที่ไม่ต้องรอจังหวะเวลาของการเติบโตของกระบวนการทางทุนนิยม การปฏิวัติในแบบของเลนินนิสม์จึงได้ขยายพรมแดนทางเวลาไปสู่ขอบเขตที่มาร์กซ์ไม่ได้ทำนายเอาไว้นั้นคือการปฏิวัติในสังคมศักดินา หรือสังคมที่เป็นราชาธิราช หรือสังคมใดใดก็ได้ที่ผู้ถูกขูดรีดมากเพียงพอ การยืนยันแนวคิดเรื่องการปฏิวัติประชาชนของมาร์กซิสม์และเลนินนิสม์นี้วางอยู่บนรากฐานร่วมกัน 2 ประการคือ 1. วิภาษวิถี (Dialectics) ซึ่งเชื่อว่าความขัดแย้งจะนำไปสู่สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนาเชิงคุณภาพ และ 2. เชื่อว่ารัฐไม่มีความเป็นกลาง ทว่ายังมีลัทธิที่มองแตกต่างออกไปในสองประเด็นนี้อย่างชัดเจนอาทิ ลัทธิสังคมนิยมประชาธิปไตย หรือลัทธิเสรีนิยม ทั้งลัทธิสังคมนิยมประชาธิปไตย หรือลัทธิเสรีนิยม ล้วนเชื่อว่ารัฐเป็นของกลางที่สามารถจะต่อรองได้ รากฐานความเข้าใจต่อตัวรัฐในแง่นี้ไม่ได้เกิดจากการที่มองว่ารัฐเป็นสิ่งนามธรรมซึ่งแยกต่างหากไปจากเจตจำนงของคน มองแบบมนุษย์นิยม (Humanism) ก็คือ รัฐเป็นสิ่งที่คนสร้างขึ้น ดังนั้นคนย่อมเปลี่ยนแปลงรัฐได้ เมื่อคนเปลี่ยนแปลงรัฐได้ก็ไม่ต้องประหารรัฐ หรือไม่ต้องปฏิวัติประชาชน ในแง่นี้สำหรับสังคมนิยมประชาธิปไตยแล้ว การจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสังคมในอุดมคติ หรือสังคมที่ลดการขูดรีด นั้นสามารถที่จะกระทำได้ผ่านกระบานการต่อรองทางการเมือง ในแง่นี้สังคมนิยมประชาธิปไตยไม่ได้มองว่าการต่อสู้ทางชนชั้น (Class struggle) ด้วยการปฏิวัติประชาชนจะเป็นหมุดหมายหรือเป็นเครื่องมือหลักในการเปลี่ยนแปลงสังคมอีกต่อไปแล้ว ในขณะที่เสรีนิยมประชาธิปไตยยิ่งมีความเชื่อมั่นในกระบวนการทางสัญญาประชาคม (social contract) ที่ว่าประชาชนทุกคนได้มอบอำนาจของตนเอง (consent) เข้าไปให้เกิดรัฐขึ้นมาก็เพื่อที่จะคุ้มครองซึ่งสิทธิ์พื้นฐานของตนเอง เช่นสิทธิ์เหนือทรัพย์สินเอกชน (private property right) เป็นต้น ดังนั้นหากรัฐไม่สามารถที่จะคุ้มครองซึ่งสิทธิ์เหล่านี้ได้ ประชาชนในรัฐก็มีสิทธิ์ที่จะลุกขึ้นเรียกเอาอำนาจของตนเองคืนมา นอกจากนี้หากผู้ปกครองปกครองแบบเผด็จการซึ่งเป็นการละเมิดต่อสิทธิ์เสรีภาพของประชาชนอย่างยิ่ง การปฏิวัติประชาชนเพื่อที่จะวิวัฒน์การปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยก็ยังได้รับการสนับสนุนจากลัทธิเสรีนิยมเช่นเดียวกัน ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่า มุมมองของลัทธิทางเศรษฐกิจการเมืองต่างๆต่อการปฏิวัติประชาชนนั้นไม่เหมือนกัน แต่ละลัทธิก็มีปรัชญารากฐานแตกต่างกันในการพยายามทำความเข้าใจรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนผ่านแง่มุมทางเศรษฐกิจและการเมือง การปฏิวัติของประชาชนจึงไม่ใช่สิ่งสากล ซึ่งมีความสลับซับซ้อนกว่าการปฏิวัติโดยทหารอยู่มากทีเดียว. (จากแฟ้มเอกสารของท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร)

ขอบคุณข้อมูล:ฉัตรทิพย์ นาถสุภา 
edit : thongkrm_virut@yahoo.com

การทำประชามติ(Referendum) และการโอนอำนาจ(Transfer of Power)


การทำประชามติ(Referendum) และการโอนอำนาจ(Transfer of Power) 

การทำประชามติ(Referendum) การทำประชามติ(Referendum) ที่มีคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และประชาชน การทำประชามติที่เป็นคุณประโยชน์ต่อชาติและประชาชน คือ การขอประชามติในการสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ตามราโชบายล้นเกล้ารัชกาลที่ ๗ การทำประชามติเรื่องอื่นๆเป็นการทำประชามติที่ไร้ประโยชน์และเป็นการสิ้น เปลื้องงบประมาณแผ่นดิน ครับ การโอนอำนาจ(Transfer of Power) รณรงค์และผลักดันให้เกิดการโอนอำนาจจากคนส่วนน้อยให้มาเป็นของประชาชนคนทั้ง ประเทศ ใช้กฎหมายสูงสุด(Supreme Law)เป็นทางดำเนินการโอนอำนาจตามแบบอย่างการโอนอำนาจของสมเด็จพระปกเกล้า ร.7 และพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2476 พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐมีพระราชอำนาจที่จะทรงใช้อำนาจตามกฎหมาย สูงสุดได้เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐและรักษาความปลอดภัยของประชาชน เพราะตามหลักกฎหมายระหว่างชาติและหลักกฎหมายแห่งชาติอันเป็นหลัก นิติธรรม(Rule of Law)และการปกครองสากลได้กำหนดไว้ว่า “ความมั่นคงแห่งชาติเป็นกฎหมายสูงสุด” พระยามโนปกรณ์นิติธาดาสุดยอดนักกฎหมายไทยได้ยืนยันว่า “ความปลอดภัยของประชาชนเป็นกฎหมายสูงสุด” รัฐ(State)ย่อมมีความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ดังนั้น ความมั่นคงหรือความปลอดภัยของรัฐคือสิ่งสูงสุด หรือคือกฎหมายสูงสุด นั่นเอง รัฐธรรมนูญยังเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของรัฐเท่านั้น ถ้าไม่มีรัฐก็ไม่มีรัฐธรรมนูญ ความมั่นคงของรัฐจึงเป็นกฎหมายสูงสุด(Supreme Law) รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายหลักหรือกฎหมายแม่บทเท่านั้น(Principle Law) รัฐธรรมนูญมีหน้าที่สะท้อนระบอบการปกครองของรัฐเท่านั้น อำนาจแห่งรัฐจึงเหนือกว่าอำนาจแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐต้องดำรงอยู่ตลอดไปห้ามเปลี่ยนแปลง แต่รัฐธรรมนูญจะมีก็ได้ไม่มีก็ได้หรือจะเปลี่ยนแปลงก็ได้ ดังนั้น เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐที่ถูกระบอบเผด็จการรัฐสภาทำลาย จึงเป็นอำนาจและหน้าที่โดยสมบูรณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่ง รัฐ(Head of State) ที่จะทรงใช้อำนาจแห่งกฎหมายสูงสุดตราพระราชกฤษฎีกา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราชั่วคราวเพื่อโอนอำนาจจากรัฐสภามาสู่สภาประชาชน ปฏิวัติสันติแห่งชาติ โอน ส.ส.และ ส.ว.ของรัฐสภามาสมาชิกของสภาประชาชนปฏิวัติสันติแห่งชาติ ยกเลิกระบอบเผด็จการรัฐสภาที่ทำลายความมั่นคงของรัฐ และสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยที่แท้จริงตามแนว ร.7 เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ให้รัฐบาลประจำการของคนส่วนน้อยสิ้นสุดลง ให้มีรัฐบาลเฉพาะกาลของประชาชนทำหน้าที่แทน ทรงแต่ตั้งประธานสภาประชาชนปฏิวัติสันติแห่งชาติและให้ทำหน้าทีรับสนองพระ บรมราชโองการ ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลเฉพาะกาล ให้ใช้นโยบายหลักและนโยบายเร่งด่วนเฉพาะหน้าของสภาประชาชนปฏิวัติสันติแห่ง ชาติหรือสภาปฏิวัติแห่งชาติเป็นนโยบายของรัฐบาลเฉพาะกาลเพื่อปฏิบัติให้ ปรากฏเป็นจริงแล้วเสร็จต่อไป.




















edit : thongkrm_virut@yahoo.com