วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2565

การปฏิวัติดอกมะลิ(Jasmine Revolution)

 














              การปฏิวัติดอกมะลิ(Jasmine Revolution) : ขอขอบคุณข้อมูลที่นำมาจากเอกสารศึกษาของท่านอาจารย์ นภาพร เกาะทอง ท่านสามารถอ่านเอกสารทั้งหมดได้ที่ : http://www.pw.ac.th/emedia/media/social/global_napaporn/globalEdUnit6.pdf

 การปฏิวัติประชาชน


“การปฏิวัติประชาชน” ในมุมมองของนักลัทธิเศรษฐกิจการเมือง (ข้อเขียนต่อไปนี้เป็นข้อเขียนที่สรุปจากหนังสือ” “ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ.2518 ซึ่งเขียนโดยท่านอาจารย์ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ว่า “การปฏิวัติประชาชน” ในมุมมองของลัทธิเศรษฐกิจการเมือง ในเชิงเปรียบเทียบถึงความสำเร็จ และล้มเหลว และสาเหตุ ที่จะเป็นการจุดประกายความคิดและประสพการณ์ต่อไปในภายภาคหน้า) ในทุกๆหัวข้อการศึกษาย่อมมีงานคลาสสิกในความหมายที่ว่า เป็นงานซึ่งจุดประกายความคิด คุณภาพสูง หรือมีความรอบด้านอย่างกว้างขวางจนเป็นที่จำเป็นจะต้องอ่านสำหรับผู้ที่เริ่มต้นศึกษาในหัวข้อนั้นๆ สำหรับหัวข้อ “ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง” ซึ่งเขียนเป็นภาษาไทยงานของ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา น่าที่จะสามารถจัดอยู่ในกลุ่มนั้นได้ไม่ยากนัก งานเรื่อง “ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง” ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ.2518 เล่มนี้ ประกอบไปด้วย 10 บทครอบคลุมลัทธิเศรษฐกิจการเมืองอาทิ ลัทธิเทวสิทธิ์, ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิ์, สังคมนิยมยูโทเปีย,ลัทธิประชาธิปไตย เสรีนิยม, มาร์กซิสม์, เลนินนิสม์, สังคมนิยมประชาธิปไตย, ลัทธิเผด็จการ และ ฟาสซิสม์ ซึ่งได้ให้มุมมองต่อจุดยืนของลัทธิเหล่านี้ในเรื่องทาง “เศรษฐกิจ” และ ”การเมือง” เอาไว้และหนึ่งในส่วนที่หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งก็คือ จุดยืนทางการเมืองต่อการปฏิวัติของลัทธิต่างๆ บทความนี้จะทบทวนถึงสิ่งที่ ฉัตรทิพย์ (2518) ได้วิเคราะห์เอาไว้ว่าลัทธิแต่ละลัทธิมีความเห็นต่อการปฏิวัติอย่างไร และเหตุผลเบื้องหลังที่สนับสนุนความเห็นเหล่านั่นเป็นเช่นไรมาสรุปเอาไว้ให้ผู้อ่านทุกท่านได้ทำความเข้าใจ ทว่าการกล่าวถึงการปฏิวัติอันเป็นขอบเขตของบทความนี้จะกล่าวถึงเพียง การปฏิวัติประชาชน (Citizen revolution) เท่านั้น ไม่นับรวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติโดยกำลังทหารในความหมายที่ว่า เป็นสถาบันทางทหารในระบบราชการ-รัฐเองเป็นผู้รัฐประหารหรืออยู่เบื้องหลังการรัฐประหารเสียเอง โดยเริ่มจากลัทธิที่หนังสือกล่าวถึงเป็นท้ายสุดก่อนนั่นคือ ลัทธิเผด็จการฟาสซิสม์ ซึ่งบูชาชาติและรัฐ และถือสิ่งที่เป็นนามธรรมร่วมกันมากกว่าสภาวะความสัมพันธ์ทางสังคมที่เป็นจริงของมนุษย์ แนวคิดเช่นนี้มีรากฐานทางจิตนิยม (idealism) เช่นเดียวกับที่เป็นรากฐานการดำรงอยู่ของลัทธิเทวสิทธิ์ ซึ่งทำให้ลัทธินี้มีแนวโน้มที่จะมองว่าการยึดถือระเบียบของรัฐอย่างไม่มีเงื่อนไข และเน้นความสามัคคีอย่างยิ่งยวดจนละเลยเสรีภาพของเอกชน ดังนั้น, ภายใต้โลกทัศน์เช่นนี้, การปฏิวัติประชาชนจึงไม่ใช่สิ่งที่ลัทธินี้จะยินยอมให้เกิดขึ้นได้เพราะการปฏิวัติประชาชนหมายถึงการประหารรัฐ การทำให้ชีวิตของรัฐไม่ต่อเนื่องขาดตอน ในขณะที่มาร์กซิสม์ และ เลนินนิสม์ มีแนวโน้มที่จะเห็นด้วยกับการทำปฏิวัติประชาชนด้วยสาเหตุที่ว่า ทั้งสองลัทธิมีมุมมองต่อระบอบทุนนิยมในทางลบ ทั้งนี้เพราะระบอบทุนนิยมในความหมายของทั้งสองลัทธินั้น มีนัยคือโครงสร้างของระบบที่ก่อให้เกิดการขูดรีด (exploitation) และการขูดรีดที่ว่ามานี้ก็มีรัฐเป็นส่วนช่วยเหลืออย่างสำคัญให้มันดำเนินต่อไปได้โดยไม่ถูกล้มล้างให้หายไป นัยนี้ รัฐในมุมมองของ มาร์กซิสม์ และ เลนินนิสม์ จึงไม่เป็นกลางแต่เอียงข้างเข้าหาทุน การจะล้มทุนจึงต้องล้มผ่านการล้มรัฐ ที่เรียกว่ารัฐเผด็จการกระฎุมพี (dictatorship of bourgeoisie) ลงเสีย ความแตกต่างอย่างสำคัญของทั้งสองลัทธินี้ก็คือ มาร์กซิสม์มองว่าภาวะของการปฏิวัติประชาชนจะเกิดขึ้นเองโดยภาววิสัย เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกระบวนการขูดรีดจะดำเนินไปจนถึงจุดที่กรรมาชีพซึ่งตกเป็นฝ่ายถูกขูดรีดมีมากเพียงพอจะปฏิวัติ มาร์ซิสม์จึงไม่ได้กล่าวว่า “จงปฏิวัติ” แต่มาร์กซิสม์ทำนายว่า “มันจะเกิดขึ้น” ในแง่นี้มาร์กซิสม์ยอมรับการปฏิวัติประชาชนก็จริงแต่เป็นการยอมรับโดยไม่ได้มีการตัดสินเชิงคุณค่า (moral judgment) ว่าการปฏิวัติประชาชนเป็นเรื่องที่ดีหรือเลวโดยตัวเอง กลับกัน, เลนินนิสม์มองว่าการปฏิวัติเป็นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่ต้องทำให้สำเร็จ แต่เลนินนิสม์ไม่เชื่อว่าการปฏิวัติประชาชนจะเกิดขึ้นเองได้ สำนึกแห่งการปฏิวัติในความเห็นของเลนินนิสม์จะต้องสร้างขึ้นโดยพรรคการเมือง (party) โดยนำเอาชนชั้นที่ถูกขูดรีดทั้งหมดมาเป็นแนวร่วม การที่ใช้ชนชั้นที่ถูกขูดรีดทั้งหมดมาเป็นแนวร่วมนั้นก็หมายความว่าไม่ได้มีเพียงกรรมาชีพเท่านั้นที่จะเข้าร่วมกับการปฏิวัติประชาชน เมื่อไม่จำกัดอยู่เพียงกรรมาชีพการปฏิวัติของเลนินนิสม์จึงเป็นการปฏิวัติที่ไม่ต้องรอจังหวะเวลาของการเติบโตของกระบวนการทางทุนนิยม การปฏิวัติในแบบของเลนินนิสม์จึงได้ขยายพรมแดนทางเวลาไปสู่ขอบเขตที่มาร์กซ์ไม่ได้ทำนายเอาไว้นั้นคือการปฏิวัติในสังคมศักดินา หรือสังคมที่เป็นราชาธิราช หรือสังคมใดใดก็ได้ที่ผู้ถูกขูดรีดมากเพียงพอ การยืนยันแนวคิดเรื่องการปฏิวัติประชาชนของมาร์กซิสม์และเลนินนิสม์นี้วางอยู่บนรากฐานร่วมกัน 2 ประการคือ 1. วิภาษวิถี (Dialectics) ซึ่งเชื่อว่าความขัดแย้งจะนำไปสู่สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนาเชิงคุณภาพ และ 2. เชื่อว่ารัฐไม่มีความเป็นกลาง ทว่ายังมีลัทธิที่มองแตกต่างออกไปในสองประเด็นนี้อย่างชัดเจนอาทิ ลัทธิสังคมนิยมประชาธิปไตย หรือลัทธิเสรีนิยม ทั้งลัทธิสังคมนิยมประชาธิปไตย หรือลัทธิเสรีนิยม ล้วนเชื่อว่ารัฐเป็นของกลางที่สามารถจะต่อรองได้ รากฐานความเข้าใจต่อตัวรัฐในแง่นี้ไม่ได้เกิดจากการที่มองว่ารัฐเป็นสิ่งนามธรรมซึ่งแยกต่างหากไปจากเจตจำนงของคน มองแบบมนุษย์นิยม (Humanism) ก็คือ รัฐเป็นสิ่งที่คนสร้างขึ้น ดังนั้นคนย่อมเปลี่ยนแปลงรัฐได้ เมื่อคนเปลี่ยนแปลงรัฐได้ก็ไม่ต้องประหารรัฐ หรือไม่ต้องปฏิวัติประชาชน ในแง่นี้สำหรับสังคมนิยมประชาธิปไตยแล้ว การจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสังคมในอุดมคติ หรือสังคมที่ลดการขูดรีด นั้นสามารถที่จะกระทำได้ผ่านกระบานการต่อรองทางการเมือง ในแง่นี้สังคมนิยมประชาธิปไตยไม่ได้มองว่าการต่อสู้ทางชนชั้น (Class struggle) ด้วยการปฏิวัติประชาชนจะเป็นหมุดหมายหรือเป็นเครื่องมือหลักในการเปลี่ยนแปลงสังคมอีกต่อไปแล้ว ในขณะที่เสรีนิยมประชาธิปไตยยิ่งมีความเชื่อมั่นในกระบวนการทางสัญญาประชาคม (social contract) ที่ว่าประชาชนทุกคนได้มอบอำนาจของตนเอง (consent) เข้าไปให้เกิดรัฐขึ้นมาก็เพื่อที่จะคุ้มครองซึ่งสิทธิ์พื้นฐานของตนเอง เช่นสิทธิ์เหนือทรัพย์สินเอกชน (private property right) เป็นต้น ดังนั้นหากรัฐไม่สามารถที่จะคุ้มครองซึ่งสิทธิ์เหล่านี้ได้ ประชาชนในรัฐก็มีสิทธิ์ที่จะลุกขึ้นเรียกเอาอำนาจของตนเองคืนมา นอกจากนี้หากผู้ปกครองปกครองแบบเผด็จการซึ่งเป็นการละเมิดต่อสิทธิ์เสรีภาพของประชาชนอย่างยิ่ง การปฏิวัติประชาชนเพื่อที่จะวิวัฒน์การปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยก็ยังได้รับการสนับสนุนจากลัทธิเสรีนิยมเช่นเดียวกัน ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่า มุมมองของลัทธิทางเศรษฐกิจการเมืองต่างๆต่อการปฏิวัติประชาชนนั้นไม่เหมือนกัน แต่ละลัทธิก็มีปรัชญารากฐานแตกต่างกันในการพยายามทำความเข้าใจรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนผ่านแง่มุมทางเศรษฐกิจและการเมือง การปฏิวัติของประชาชนจึงไม่ใช่สิ่งสากล ซึ่งมีความสลับซับซ้อนกว่าการปฏิวัติโดยทหารอยู่มากทีเดียว. (จากแฟ้มเอกสารของท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร)

ขอบคุณข้อมูล:ฉัตรทิพย์ นาถสุภา 
edit : thongkrm_virut@yahoo.com

การทำประชามติ(Referendum) และการโอนอำนาจ(Transfer of Power)


การทำประชามติ(Referendum) และการโอนอำนาจ(Transfer of Power) 

การทำประชามติ(Referendum) การทำประชามติ(Referendum) ที่มีคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และประชาชน การทำประชามติที่เป็นคุณประโยชน์ต่อชาติและประชาชน คือ การขอประชามติในการสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ตามราโชบายล้นเกล้ารัชกาลที่ ๗ การทำประชามติเรื่องอื่นๆเป็นการทำประชามติที่ไร้ประโยชน์และเป็นการสิ้น เปลื้องงบประมาณแผ่นดิน ครับ การโอนอำนาจ(Transfer of Power) รณรงค์และผลักดันให้เกิดการโอนอำนาจจากคนส่วนน้อยให้มาเป็นของประชาชนคนทั้ง ประเทศ ใช้กฎหมายสูงสุด(Supreme Law)เป็นทางดำเนินการโอนอำนาจตามแบบอย่างการโอนอำนาจของสมเด็จพระปกเกล้า ร.7 และพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2476 พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐมีพระราชอำนาจที่จะทรงใช้อำนาจตามกฎหมาย สูงสุดได้เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐและรักษาความปลอดภัยของประชาชน เพราะตามหลักกฎหมายระหว่างชาติและหลักกฎหมายแห่งชาติอันเป็นหลัก นิติธรรม(Rule of Law)และการปกครองสากลได้กำหนดไว้ว่า “ความมั่นคงแห่งชาติเป็นกฎหมายสูงสุด” พระยามโนปกรณ์นิติธาดาสุดยอดนักกฎหมายไทยได้ยืนยันว่า “ความปลอดภัยของประชาชนเป็นกฎหมายสูงสุด” รัฐ(State)ย่อมมีความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ดังนั้น ความมั่นคงหรือความปลอดภัยของรัฐคือสิ่งสูงสุด หรือคือกฎหมายสูงสุด นั่นเอง รัฐธรรมนูญยังเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของรัฐเท่านั้น ถ้าไม่มีรัฐก็ไม่มีรัฐธรรมนูญ ความมั่นคงของรัฐจึงเป็นกฎหมายสูงสุด(Supreme Law) รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายหลักหรือกฎหมายแม่บทเท่านั้น(Principle Law) รัฐธรรมนูญมีหน้าที่สะท้อนระบอบการปกครองของรัฐเท่านั้น อำนาจแห่งรัฐจึงเหนือกว่าอำนาจแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐต้องดำรงอยู่ตลอดไปห้ามเปลี่ยนแปลง แต่รัฐธรรมนูญจะมีก็ได้ไม่มีก็ได้หรือจะเปลี่ยนแปลงก็ได้ ดังนั้น เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐที่ถูกระบอบเผด็จการรัฐสภาทำลาย จึงเป็นอำนาจและหน้าที่โดยสมบูรณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่ง รัฐ(Head of State) ที่จะทรงใช้อำนาจแห่งกฎหมายสูงสุดตราพระราชกฤษฎีกา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราชั่วคราวเพื่อโอนอำนาจจากรัฐสภามาสู่สภาประชาชน ปฏิวัติสันติแห่งชาติ โอน ส.ส.และ ส.ว.ของรัฐสภามาสมาชิกของสภาประชาชนปฏิวัติสันติแห่งชาติ ยกเลิกระบอบเผด็จการรัฐสภาที่ทำลายความมั่นคงของรัฐ และสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยที่แท้จริงตามแนว ร.7 เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ให้รัฐบาลประจำการของคนส่วนน้อยสิ้นสุดลง ให้มีรัฐบาลเฉพาะกาลของประชาชนทำหน้าที่แทน ทรงแต่ตั้งประธานสภาประชาชนปฏิวัติสันติแห่งชาติและให้ทำหน้าทีรับสนองพระ บรมราชโองการ ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลเฉพาะกาล ให้ใช้นโยบายหลักและนโยบายเร่งด่วนเฉพาะหน้าของสภาประชาชนปฏิวัติสันติแห่ง ชาติหรือสภาปฏิวัติแห่งชาติเป็นนโยบายของรัฐบาลเฉพาะกาลเพื่อปฏิบัติให้ ปรากฏเป็นจริงแล้วเสร็จต่อไป.




















edit : thongkrm_virut@yahoo.com


วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2565

 ย้อนรอยการรัฐประหารไทย แต่ละครั้ง ประเทศชาติได้อะไร ?

 

การรัฐประหารไทย แต่ละครั้ง ประเทศได้อะไร ย้อนรอยดูกัน แต่ที่ชัดเจนเห็นได้ชัดว่าเป็นการพาประเทศเข้าสู่วงจรการเมืองที่เรียกว่า วงจรอุบาทว์ เพื่อผลประโยชน์ในกลุ่มตัวเองเท่านั้นแล้วก็จากไป ถ้าจะเรียกให้ถูกก็คือ พังไป คนก็ลืมอย่างรวดเร็ว ทำไม่ได้อย่างที่ประกาศไว้ตอนแรกทำรัฐประหารแม้แต่กลุ่มเดียว...แล้วครั้ง นี้ละถ้าไม่รัฐประหารเพื่อสร้างประชาธิปไตยแล้ว คิดว่าจะเป็นรัฐประหารปฎิกิริยาครั้งสุดท้าย เพราะประชาชนเขารู้เช่นเห็นชาติแล้วว่ารัฐประหารเพื่อสิ่งใด
วงจรอุบาทว์การเมืองไทย รัฐประหาร-เลือกตั้ง-รัฐประหาร-เลือกตั้ง-รัฐประหาร...จนกระทั้งครั้งสุดท้าย - รัฐประหาร-เลือกตั้ง-รัฐประหาร-ความวินาศของระบอบเผด็จการและบรรดาเผด็จการไทยและบริวารเพื่อให้บ้านเมืองเราเข้าสู่เส้นทางโคจรเพื่อความเจริญรุ่งเรื่องของชาติไทยไปชั่วนิรันดรตามคำขวัญ #ให้จบในรุ่นของเรา
ย้อนรอยรัฐประหารในประวัติศาสตร์ไทย : รวมปัจจุบันมีถึง 13 เหตุการณ์ด้วยกันโดยย่อ ดังต่อไปนี้:
1. รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
เกิดจากการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ฉบับที่เรียกว่า “สมุดปกเหลือง” ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ ก่อให้เกิดความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในหมู่คณะราษฎรด้วยกันเองและบรรดาข้าราชการ จึงเกิดการ รัฐประหารเงียบ บีบบังคับให้นายปรีดีเดินทางออกนอกประเทศ พร้อมทั้งกวาดล้างจับกุมพวกที่คิดว่าเป็นคอมมิวนิสต์, พรรคคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้มีบันทึกที่ไม่เป็นทางการว่า พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และ พระยาทรงสุรเดช ร่วมมือกันในการขจัดบทบาททางการเมืองของคนสำคัญในคณะราษฏรเอง เช่น นายปรีดี พนมยงค์ และหลวงพิบูลสงคราม เป็นต้น
2. รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
เป็นรัฐประหารครั้งแรกในประเทศไทย รัฐประหารครั้งนี้มีขึ้นหลังพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา หลังจากมีความขัดแย้ง“สมุดปกเหลือง” จนกระทั่งเกิดวิกฤตเมื่อ “4 ทหารเสือ” พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ปีเดียวกัน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม
จากนั้น ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก, ทหารเรือ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา, หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
3. รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
สาเหตุของการรัฐประหารก็คือ รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งสืบอำนาจต่อจากรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์ ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้งกันในชาติได้ อันมีสาเหตุหลักจากเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8 ประกอบกับมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ
4. รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
เป็นการทำรัฐประหารโดยบุคคลกลุ่มเดียวกันกับที่ทำรัฐประหารรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุน จอมพล ป. อดีตนายกรัฐมนตรี โดยที่ภายหลังจากกลุ่มนายทหารนำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น) ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 แล้วได้แต่งตั้งให้ นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
ต่อมาในการเลือกตั้งวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 พรรคประชาธิปัตย์ สามารถชนะการเลือกตั้งได้รับเสียงสูงสุดในสภาฯ นายควง อภัยวงศ์ ในฐานะ หัวหน้าพรรคได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่บ่งชี้ว่า ผู้มีอำนาจที่แท้จริงก็คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำให้เกิดการขัดแย้ง ..
5. รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
เป็นการรัฐประหารอีกครั้งที่เกิดในประเทศไทย แต่เป็นรัฐประหารครั้งแรกที่เรียกได้ว่า เป็นการ รัฐประหารตัวเอง (ยึดอำนาจตัวเอง) เหตุเนื่องจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี อ้างว่าไม่ได้รับความสะดวกในการบริหารราชการแผ่นดิน เหตุสืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2492 อันเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ขณะนั้น ไม่เอื้อให้เกิดอำนาจ คือให้ผู้ที่เป็น สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นข้าราชการประจำไม่ได้ การยึดอำนาจกระทำโดยไม่ใช้การเคลื่อนกำลังใด ๆ
ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นการกระทำที่ประหลาดที่สุดในโลก และเป็นเหตุให้พรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศคว่ำบาตรรัฐบาลทุกประการ
6. รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
ป็นการรัฐประหารที่ถือได้ว่าพลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปอีกรูปแบบหนึ่งเช่นเดียวกับการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 สืบเนื่องจากความแตกแยกกันระหว่างกลุ่มทหาร ที่นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก กับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ที่ค้ำอำนาจของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม
มีการเลือกตั้งที่นับได้ว่ามีการโกงกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง จอมพล ป. นายกรัฐมนตรี สั่งประกาศภาวะฉุกเฉิน และแต่งตั้งให้ จอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้ปราบปรามการชุมนุม แต่เมื่อฝูงชนเดินทางมาถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์แล้ว จอมพลสฤษดิ์กลับเป็นผู้นำเดินขบวน พาฝูงชนข้ามสะพานมัฆวานรังสรรค์
7. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
เกิดขึ้นหลังจากที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2500 ล้มอำนาจเดิมของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แล้วได้มอบหมายให้ นายพจน์ สารสิน เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดการเลือกตั้ง มีการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501พลโทถนอม กิตติขจร จึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อมา
แต่ว่าการเมืองในรัฐสภาไม่สงบ เนื่องจากบรรดา ส.ส. เรียกร้องเอาผลประโยชน์และมีการขู่ว่าหากไม่ได้ตามที่ร้องขอจะถอนตัวจากการสนับสนุนรัฐบาล เป็นต้น พล.ท.ถนอม กิตติขจรก็ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้ พล.ท.ถนอม กิตติขจร จึงประกาศลาออกในเวลาเที่ยงของวันเดียวกัน แต่ทว่ายังไม่ได้ประกาศให้แก่ประชาชนทราบโดยทั่วกัน จากนั้นจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจอีกครั้ง โดยอ้างถึงเหตุความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังคุกคาม โดยมีคำสั่งคณะปฏิวัติให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ที่ใช้อยู่ขณะนั้น ยุบสภา ยกเลิกสถาบันทางการเมือง
8. รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
เป็นการรัฐประหารอีกครั้งในประเทศไทย ที่เป็นการ ยึดอำนาจตัวเอง สาเหตุสืบเนื่องจากการที่สมาชิกพรรคสหประชาไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2512 นำโดย นายญวง เอี่ยมศิลา ส.ส.จังหวัดอุดรธานี ได้เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนต่าง ๆ ตามที่จอมพลถนอมได้เคยสัญญาไว้ในช่วงเลือกตั้ง เมื่อไม่ได้รับการตอบแทนดังที่สัญญาไว้ ส.ส.เหล่านี้ได้ต่างพากันเรียกร้องต่าง ๆ นานา บ้างก็ขู่ว่าจะลาออก เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้ จอมพลถนอม หัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับฉายาสมัยนั้นว่า “นายกฯคนซื่อ” ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ในสภาฯ ได้ จึงทำการยึดอำนาจตนเองขึ้น โดยไม่มีชื่อเรียกคณะรัฐประหารในครั้งนี้โดยเฉพาะเหมือนการรัฐประหารที่เคยมีมาในอดีต แต่เรียกตัวเองเพียงแค่ว่า คณะปฏิวัติ
9. รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
เนื่องจากเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ที่เกิดขึ้นมาตลอดช่วงวันนั้นที่เรียกว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา รัฐบาลพลเรือนโดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยได้ คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพและอธิบดีกรมตำรวจ นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด จึงจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองไว้ โดยใช้ชื่อว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
10.รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
เหตุเนื่องจากการที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่นำโดย พล.ร.อ.สงัด ได้ทำการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2519 เนื่องจากในเหตุการณ์ 6 ตุลา และแต่งตั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยรัฐบาลนายธานินทร์มีภารกิจสำคัญที่จะต้องกระทำคือ การปฏิรูปการเมืองภายในระยะเวลา 12 ปี ซึ่งทางคณะปฏิรูปฯเห็นว่าล่าช้าเกินไป ประกอบกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบดีด้วย ดังนั้นจึงกระทำการรัฐประหารซ้ำอีกครั้ง ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการ รัฐประหารตัวเอง เพื่อกระชับอำนาจก็ว่าได้
11. รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
บางครั้งเรียกว่า เหตุการณ์ รสช. โดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช.(National Peace Keeping Council – NPKC) ยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมีเหตุผลหลายประการ เช่น พฤติการณ์ฉ้อราษฎร์บังหลวง, ข้าราชการการเมือง ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริต, รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา
12. รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นำโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ โดยโค่นล้มรักษาการนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนับเป็นการก่อรัฐประหารเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนต่อมา หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐประหารได้ยกเลิกการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม ยกเลิกรัฐธรรมนูญ สั่งยุบสภา สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งและเซ็นเซอร์สื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก และจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคน
13. รัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นำโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา เป็นการประกาศรัฐประหารเพื่อให้รัฐมนตรีรักษาการทั้งหมดหมดอำนาจ และเปลี่ยนผ่านสู่การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
เป็นเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทยที่มีผลทั่วราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.30 น. โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. (National Peace and Order Maintaining Council) ที่นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย
สองวันก่อนหน้านั้น พลเอก ประยุทธ์ ในนามของกองทัพบก ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ตั้งแต่เวลา 03:00 นาฬิกา ด้วยการอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ต่อมากองทัพบกได้ออกประกาศยุติการดำเนินการของศูนย์อำนายการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) และจัดตั้ง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ขึ้นแทนโดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.รส.) และออกประกาศคำสั่ง และขอความร่วมมือในหลายเรื่องอย่างต่อเนื่องในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เช่น ขอให้ระงับการแพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ดาวเทียมและวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับใบอนุญาต ขอความร่วมมือในการเผยแพร่เนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต และเชิญประชุมข้าราชการระดับสูง ผู้นำกลุ่มการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองต่าง ๆ เป็นต้น
หมายเหตุ :
ทั้งนี้ บางตำราระบุว่า การปิดสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารครั้งแรกของไทย และมิได้แยกเหตุการณ์วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 เป็นรัฐประหารอีกครั้ง
(ข้อมูลบางส่วนจากแฟ้มเอกสารของท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร)
เครดิตภาพ : kapook.com
edit : thongkrm_virut@yahoo.com

 90 ปีแห่งการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย

 


24 มิถุนายน 2475 เป็นวันที่คณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง และ

คณะราษฎร์ เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้กระทำการ 2 เรื่อง คือ

1. เปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย

2. เปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการรัฐสภา

อย่างแรกเป็นคุณความดีที่คนไทยจะต้องระลึกถึง อย่างหลังเป็นความเลวร้ายที่คนไทยสาปแช่งจนถึงปัจจุบัน

เมื่อพูดถึงคณะราษฎร์ เรามักจะพูดถึงแต่การเปลี่ยนแปลงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย แต่เมื่อคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการเรามักไม่พูดถึง

มีแต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 7 พระองค์เดียวทรงอธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน

เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราษย์เป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น รัชกาลที่ 7 ทรงสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เพราะพระองค์ทรงมีพระราชดำริมาก่อนแล้วที่จะทำการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้น

ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร์ได้ยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นแทน นำเอาระบบรัฐสภามาใช้ และประกาศฯนโยบายหลักเรียกว่าหลัก 6 ประการ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติและประชาชน และสามวันต่อมาก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตราแรกว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย เหล่านี้ทำให้คณะราษฎร์และองค์กรแห่งอำนาจอธิปไตยเหล่านั้น มีฐานะเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย นั่นคือการเปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย

ทั้งหมดนี้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ด้วยความสนับสนุนช่วยเหลือของรัชกาลที่ 7 ซึ่งทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์ตามคำขอร้องของคณะราษฎร์

หลังจากสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นแล้ว คณะราษฎร์ก็เริ่มเขวออกนอกทาง เริ่มแสดงความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ละทิ้งนโยบายประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ ซึ่งทำให้คณะราษฎร์หมดฐานะของความเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย และในที่สุดยกเลิกหลักประชาธิปไตยที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยเปลี่ยนความว่าอำนาจสูงสุดของประเทศ (อำนาจอธิปไตย ) เป็นของ ปวงชน มาเป็นอำนาจอธิปไตย มาจาก ปวงชน เพื่อหลอกลวงประชาชนว่า เมื่อมีการเลือกตั้งก็เป็นประชาธิปไตย

กระบวนการเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการนี้คณะราษฎร์เริ่มกระทำตั้งแต่ปฏิวัติประชาธิปไตยเสร็จใหม่ ๆ และแสดงออกมาอย่างเป็นทางการโดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ซึ่งได้ยกเลิกหลักการปกครองอันเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย โดยเปลี่ยนคำว่าอำนาจอธิปไตย เป็นของ ปวงชน เป็นอำนาจอธิปไตย มาจาก ปวงชน

ฉะนั้นวันที่ 10 ธันวาคม 2475 จึงเป็นวันเปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการ ตรงกันข้ามกับวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย

การที่คณะราษฎร์เปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการนี้ รัชกาลที่ 7 ทรงคัดค้านอย่างรุนแรง ดังตัวอย่างพระราชบันทึกบางตอนซึ่งทรงเสนอต่อรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ พ.ศ. 2477 ดังนี้

ข้าพเจ้าของชี้แจงเสียโดยชัดเจนว่า เมื่อพระยาพหลฯ และคณะผู้ก่อการฯ ขอร้องให้ข้าพเจ้าคงอยู่ครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ข้าพเจ้ายินดีรับรอง ก็เพราะเข้าใจและเชื่อมั่นว่า คณะผู้ก่อการ ต้องการจะสถาปนาการปกครองแบบ ประชาธิปไตย หรือ Democratic Government ตามแบบอย่างของประเทศอังกฤษ และประเทศอื่น ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ปกครองภายใต้อำนาจอันจำกัดโดยรัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าก็ได้คิดการที่จะบรรดาลให้เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นไปโดยราบรื่นที่สุดที่จะเป็นไปได้ และได้กล่าวถึงความประสงค์นั้นโดยเปิดเผยหลายครั้งหลายหน โดยเหตุนี้ เมื่อคณะผู้ก่อการฯ ขอร้องให้ข้าพเจ้าเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าจึงรับรองทันที โดยไม่มีเหตุขัดข้องอยางใดเลย ครั้นต่อมาในระหว่างที่กำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรอยู่ ข้าพเจ้าก็ได้พยายามตักเตือนและโต้เถียงกับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอยู่ตลอดเวลา ว่าควรถือหลัก Democracy อันแท้จริงจึงจะถูก ถ้ามิฉะนั้นจะทำให้เกิดความไม่พอใจขึ้นแก่ประชาชน ซึ่งส่วนมากต้องการให้มีการปกครองแบบ Democracy อันแท้...ต่อมาข้าพเจ้าได้ยินคำติเตียนหลักการอันนั้นในรัฐธรรมนูญ (สมาชิกประเภทที่สองเท่ากับประเภทที่หนึ่ง ผู้เขียน) และหลักการอันนี้เป็นเหตุให้มีคนไม่พอใจในคณะรัฐบาลเป็นอันมากจนมีการริเริ่มจะล้มรัฐบาลเสียด้วยพละการ เพื่อแก้ไขหลักการข้อนี้ตั้งแต่ก่อนกระทำพิธีการพระราชทานรัฐธรรมนูญ...(เวลานี้ ส.ว. มีจำนวนถึงสามในสี่ของ ส.ส. หนักกว่าสมัยโน้นเสียอีก ผู้เขียน)...การปกครองที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้เป็นลัทธิเผด็จการทางอ้อม ๆ ไม่ใช่ Democracy จริง ๆ เลย...เป็นการผิดหลักผิดทางของลัทธิ Democracy โดยแท้...ข้าพเจ้าได้พูดไว้นานแล้วว่าข้าพเจ้าจะยอมสละอำนาจของข้าพเจ้าให้แก่ราษฎรทั้งปวง แต่ไม่สมัครที่จะสละอำนาจให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่ง เว้นแต่จะรู้ว่าเป็นความประสงค์ของประชาชนอันแท้จริงเช่นนั้น ” (จากพระราชบันทึกของรัชกาลที่ 7 เพื่อ พ.ศ. 2477 )

และเมื่อไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคณะราษฎร์ได้ รัชกาลที่ 7 ก็ทรงสละราชสมบัติ ซึ่งทรงประกาศไว้ตอนหนึ่งว่า ข้าพเจ้าไม่สามารถจะยินยอมให้บุคคลหรือคณะใด ดำเนินการปกครองวิธีนี้ ในนามของข้าพเจ้า

สมเด็จพระปกเกล้าทรงสนับสนุนช่วยเหลือคณะราษฎร์ เมื่อคณะราษฎร์ยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่เมื่อคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการและพระองค์ไม่สามารถจะทัดทาน จึงทรงสละราชสมบัติ

คณะราษฎร์เปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 และเปลี่ยนเป็นระบอบเผด็จการสมบูรณ์แบบเมื่อ พลตรี หลวงพิบูลสงคราม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2481 โดยใช้รูปของเผด็จการรัฐสภา ครั้นถึง พ.ศ. 2490 ก็เปลี่ยนเป็นระบอบเผด็จการรัฐประหาร และตั้งแต่นั้นมาระบอบเผด็จการของประเทศไทยก็สลับกันระหว่างระบอบเผด็จการรัฐประหารกับระบอบเผด็จการรัฐสภามาจนถึงปัจจุบัน ไม่เคยกลับไปเป็นระบอบประชาธิปไตยอีกเลย กล่าวจากแง่นี้ปัจจุบันนี้ ตัวแทนประชาชนไม่มีเลยมีแต่แต่งตั้ลล้วนๆ หนักกว่าสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงคัดค้านถึงกับต้องสละราชสมบัติ ซึ่งมีจำนวนสมาชิกประเภทที่สองเท่ากับประเภทที่หนึ่งเท่านั้น

แต่เมื่อคณะราษฎร์เปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการแล้วก็ยิ่งโหมการโฆษณาว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย จนถึงกับมีการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และสถานีวิทยุท่องรัฐธรรมนูญทุกวันนั้น แบบเดียวกับการปฏิวัติประชาธิปไตยของจีน ซึ่งหลังจากพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งนำโดย ดร.ยัดเซ็นทำเสร็จแล้วไม่นาน นายพลยวนชีไขและจอมพลเจียงไคเช็ค ในนามของพรรคก๊กมินตั๋งก็เปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการเสียโดยการโฆษณาเป็นการใหญ่ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยตามหลักคำสอนของซุนยัดเซ็นและไม่เคยกลับไปเป็นระบอบประชาธิปไตยอีกเลย จนกระทั่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนโค่นระบอบเผด็จการนั้นลงเสียเมื่อ พ.ศ. 2492

ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เมืองไทยมีระบอบประชาธิปไตยอยู่เพียงช่วงสั้นๆ จากนั้นจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 90 ปีแล้วเป็นระบอบเผด็จการมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

 

(ข้อมูลจากแฟ้มเอกสารของท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร)

edit:thongkrm_virut@yahoo.com