ความล้มเหลวไม่มีค่าพอจะทำให้ที่คุณหวาดกลัว
1.มีคนเคยบอกผมว่า ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน
เพราะบางครั้งชีวิตที่เคยไปได้สวยของคนเรา
ก็อาจสะดุดลงกลางคันโดยไม่รู้สาเหตุ บางคนอาจถูกเลย์ออฟโดยไม่คาดคิด
เพราะบริษัทโดนพิษเศรษฐกิจตกต่ำ หรือในความรักแสนสวยงามดังฝัน
บางคนอาจถูกบอกเลิกโดยไม่ทันได้เตรียมใจ
หลายคนคงรู้จักสตีฟ
จอบส์ในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิล
บริษัทที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
สินค้าแทบทุกชิ้นของเขาล้วนได้รับความนิยม ไม่ว่าจะเป็นไอพอด ไอโฟน หรือไอแพด
ด้านหนึ่งเราเห็นเขาประสบความสำเร็จมากเสียจนจินตนาการภาพความล้มเหลวของผู้ชายคนนี้ไม่ออก
หารู้ไม่ว่าถ้าวัดกันแล้วสตีฟ
จอบส์อาจเป็นหนึ่งในคนที่เคยล้มเหลวมากที่สุดในโลกก็ว่าได้
2.ในปีค.ศ. 1984 หลังก่อตั้งบริษัทแอปเปิลมาได้สิบปี สตีฟ จอบส์ในวัยสามสิบก็เริ่มถูกกดดันจากฝ่ายบริหาร และลดบทบาทในการทำงานลง เพราะพวกเขามีวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกัน
ตอนนั้นสตีฟ
จอบส์ต้องการจะสร้างนวัตกรรมใหม่ที่จะนำหน้าคู่แข่งอย่างไอบีเอ็มไปอีกสิบปี
เพราะเครื่องแอปเปิลทูที่ช่วยฉุดเขาจากคนธรรมดาให้กลายมาเป็นซีอีโอบริษัทดาวรุ่งเริ่มถึงจุดอิ่มตัว
หากไม่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยอดเยี่ยม บริษัทดาวรุ่งอาจกลายเป็นดาวร่วงในไม่ช้า
เพียงแต่ฝ่ายบริหารอย่างจอห์น สกัลลี่ย์
และไมค์ มาร์คคูลา นั้นมองกลับกัน คือแทนที่จะลงทุนในระยะยาว
โดยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อันยอดเยี่ยมขึ้นมา
พวกเขาเลือกทำกำไรระยะสั้นโดยเดินตามรอยยักษ์ใหญ่อย่างไอบีเอ็ม
ที่เน้นการขายผลิตภัณฑ์ราคาถูกเพื่อทำกำไรมากที่สุด
ดูเหมือนว่าโลกของนักประดิษฐ์อย่างสตีฟ
จอบส์และโลกของบรรดานักการตลาดทั้งหลายจะเป็นคนละใบกัน
ในตอนนั้นจอบส์กำลังปลุกปั้นโปรเจ็กต์ใหม่ที่ชื่อ
“ลิซ่า” ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่มีเมาส์และแยกแป้นคีย์บอร์ดจากตัวเครื่องได้
แต่เขากลับถูกถอดจากโปรเจ็กต์กลางอากาศ ก่อนถูกแต่งตั้งให้เป็นประธานบริษัทลอยๆ
ที่ดูภาพรวม แต่ไร้อำนาจในการบริหาร
จอบส์หัวเสียเพราะเขาไม่มีแผนกของตัวเอง
แม้ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของบริษัทแต่ไม่มีอำนาจจัดการอะไร โชคดีที่เขาไปเจอทีมเล็กๆ
ทีมหนึ่งที่กำลังพัฒนาโปรเจ็กต์แมคอินทอชกันอยู่ จอบส์ใช้ทีมนี้เองสร้างเครื่องแมคอินทอชที่เปลี่ยนโลกออกมาได้ในที่สุด
เครื่องแมคอินทอชนั้นถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของแอปเปิล
จนบริษัทอื่นต่างตะลึงไปตามๆ กัน
เพราะมันเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่มีระบบปฏิบัติการแมคโอเอส
มีภาพกราฟิกสวยงามบนหน้าจอที่วงการสื่อสิ่งพิมพ์ทุกบริษัทต้องนำมาใช้
3.ในตอนที่่สตีฟ จอบส์ส่งเครื่องแมคอินทอชออกมา บิล เกตส์ผู้เป็นเจ้าของโปรแกรมดอสได้เห็นระบบปฏิบัติการแมคโอเอสเป็นครั้งแรก เขาจึงเริ่มเขียนระบบปฏิบัติการของตัวเองที่ชื่อวินโดว์ส
ขณะที่ไอบีเอ็มก็ได้ทำคอมพิวเตอร์ที่ใกล้เคียงกันแต่ราคาถูกกว่าออกมา
ซึ่งทำให้ยอดขายของเครื่องแมคไม่ดีเลย เพราะผู้คนส่วนใหญ่เลือกพีซี
ซึ่งมีราคาถูกกว่า และบริษัทอื่นต่างก็ดำเนินรอยตามไอบีเอ็ม
เมื่อยอดขายเครื่องแมคไม่เป็นไปตามเป้า
เก้าอี้ของสตีฟ จอบส์ที่เคยเย็นลงชั่วคราวจากนวัตกรรมเปลี่ยนโลกก็เริ่มร้อนขึ้นอีกหน
บอร์ดบริหารส่วนใหญ่จึงร่วมมือกันเพื่อปลดจอบส์ออกจากตำแหน่ง
ก่อนจะผลักดันให้จอห์น สกัลลีย์ขึ้นเป็นซีอีโอแทน
โดยย้ายจอบส์ให้ไปทำงานในแผนกใหม่ที่ยังไม่มีตัวตน
และไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานในแอปเปิลเลย
เมื่อต้องอยู่แบบไร้ตัวตนและไร้ความหมาย สตีฟ
จอบส์ก็ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม เขาจึงตัดสินใจเขียนจดหมายลาออกโดยที่ยังไม่รู้อนาคต
ข่าวการลาออกของจอบส์กลายเป็นข่าวครึกโครมใหญ่โต
เพราะวงการคอมพิวเตอร์นั้นได้รับความสนใจไม่แพ้วงการฮอลลีวู้ด
จอบส์กลายเป็นชายหนุ่มที่ล้มเหลวมากที่สุดในทันที
การที่เขาถูกบีบให้ออกจากบริษัทของตัวเองนั้นก็ไม่ต่างจากการที่เจ้าชายคนหนึ่งถูกขับออกจากราชบัลลังก์
จอบส์ทำได้เพียงกู้หน้าของตัวเอง
โดยรวบรวมมือดี 5-6 คนของแอปเปิลออกมาตั้งบริษัทใหม่ชื่อ NeXT แต่ว่าบริษัทนี้ไปได้ไม่สวยเท่าไร
และ NeXT ก็ล้มลุกคลุกคลานอยู่หลายปี
4.เมื่อสตีฟ จอบส์มองไม่เห็นแสงสว่างในวงการไอที เขาจึงลองซื้อสตูดิโอพิกซาร์ที่กำลังขาดทุน แล้วใส่ความรักแบบเดียวกับที่เคยทำกับแอปเปิลลงไป ก่อเกิดเป็นภาพยนตร์เรื่อง Toy Story และในที่สุดเขาก็พลิกฟื้นคืนชีพพิกซาร์กลับมาได้สำเร็จ
ขณะเดียวกันไม่มีใครคิดว่า 12
ปีที่จอบส์หายหน้าไปจากแอปเปิล บริษัทจะขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่องจนเกือบล้มละลาย
ขณะที่ประธานบริษัทสามคนที่ผลัดกันเข้ามาแก้ปัญหาของแอปเปิลไม่สามารถกู้วิกฤติได้
และที่เหนือความคาดคิดยิ่งกว่าคือ การที่สตีฟ จอบส์ เจ้าชายที่ถูกชิงบัลลังก์ไปจะได้กลับคืนสู่อาณาจักรแอปเปิล
และ เจ้าชายไม่กลับมามือเปล่า
เขานำระบบปฏิบัติการใหม่ที่พัฒนาขึ้นที่ NeXT รวมถึงประสบการณ์
12 ปีที่ขัดเกลาเขาเป็นคนใหม่
เข้ามากอบกู้แอปเปิลที่กำลังขาดทุนให้กลับมาทำกำไรได้ภายในปีเดียว
จอบส์ยกเลิกสายการผลิตอันรุงรังของแอปเปิลที่ผลิตหลายอย่างทั้งปาล์มและเครื่องพริ้นต์ทิ้งไป
ให้เหลือเพียง 4 ผลิตภัณฑ์หลักเท่านั้น คือ
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะสำหรับมืออาชีพและคนทั่วไป
และแล็ปท็อปสำหรับมืออาชีพและคนทั่วไป ก่อนจอบส์จะยกหูหาบิล
เกตส์เพื่อยุติความบาดหมางทั้งหมด และชักชวนบิล เกตส์มาลงทุนในแอปเปิล
วิสัยทัศน์เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่แท้จริงของเจ้าชายที่เหมาะสมจะเป็นกษัตริย์
จากนั้นจอบส์ก็สร้างไอพอด คิดไอโฟน และสร้างไอแพดออกมา
จนสร้างความฮือฮาให้กับวงการอีกครั้ง นำพาให้ในปีค.ศ. 2013
แอปเปิลกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าแบรนด์สูงที่สุดในโลก
แม้เมื่อสิบปีก่อนมันเพิ่งจะขาดทุนจนเกือบเจ๊งมาแล้วก็ตาม
5.“การถูกไล่ออกจากแอปเปิลกลายเป็นสิ่งดีที่สุดที่จะเกิดกับผมได้ ภาระอันหนักอึ้งจากความสำเร็จแปรเปลี่ยนเป็นความรู้สึกเบาสบาย เมื่อผมกลายเป็นมือใหม่ที่มีความเชื่อมั่นน้อยลง ทำให้ผมมีอิสรภาพที่จะเข้าสู่ช่วงที่ผมมีความสร้างสรรค์ที่สุดช่วงหนึ่งในชีวิต”
(จาก วิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน สฤณี
อาชวานันทกุล แปล)
สตีฟ
จอบส์อาจเคยประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่อย่างรวดเร็วตั้งแต่อายุน้อย
แต่เขาก็ประสบกับความล้มเหลวครั้งใหญ่อย่างรวดเร็วพอๆ กัน เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์
นักเขียนรางวัลโนเบลเคยบอกว่า “โลกทำลายทุกคน
แต่หลังจากนั้นมีหลายคนเข้มแข็งขึ้นจากการถูกทำลายนั้น”
ถ้าตอนนี้คุณกำลังเจอวิกฤติ ไม่ต้องตื่นตระหนก
ไม่จำเป็นต้องตกใจ เพราะอีกไม่นานบททดสอบที่ผ่านเข้ามาก็จะผ่านพ้นไป
เมื่อคุณผ่านมันมาได้ คุณก็จะแข็งแกร่งขึ้นเช่นเดียวกับสตีฟ
จอบส์ที่ได้กลับมากอบกู้อาณาจักร สร้างความฝันใหม่
ก่อนที่จะทำให้มันประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว
จำไว้ว่า
ความล้มเหลวไม่มีค่าพอจะทำให้ที่คุณหวาดกลัว
จงยิ้มรับอิสรภาพที่มาพร้อมกับมัน
และใช้โอกาสนั้นทำฝันของคุณให้เป็นจริง
Cr. Porglon Writer, Editor
Cr/Photo : Pinterest
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น