วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564

 


การปฏิวัติประชาธิปไตยในญี่ปุ่น
ประเทศไทยมีความเจริญมาตั้งแต่ก่นก่อตั้งขึ้นเป็นชาติกรุงสุโขทัยเป็นประเทศ อุดมสมบูรณ์ดังปรากฏตามศิลาจารึก กรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศมั่งคั่งด้วยการเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างตะวันออก กับตะวันตก สมัยพระนารายณ์สัมพันธ์กับยุโรปอย่างใกล้ชิดถึงกับส่งคนไปเรียนนอก ในขณะที่ประเทศอื่นในทวีปเอเชียยังไม่ลืมตาอ้าปากในเรื่องเหล่านี้เลย มาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นยุคของการก่อตั้ง “ชาติ” ในทวีเอเชียก็เหลือชาติอิสระเพียง 3 ชาติเท่านั้น คือ ไทย จีน และญี่ปุ่น ชาติอื่นๆถูกมหาอำนาจฮุบไปหมด
ชาติพม่า ชาติอินเดีย ชาติมลายู กลายเป็นชาติอังกฤษ
ชาติลาว ชาติเขมร กลายเป็นชาติฝรั่งเศส
ชาติชวา หรืออินโดนีเซีย กลายเป็นชาติฮอลันดา
ชาติฟิลิปปินส์ กลายเป็นชาติอเมริกัน
ใน 3 ชาติอิสระ ญี่ปุ่นปฏิวัติประชาธิปไตยสำเร็จ จีนปฏิวัติสังคมนิยมสำเร็จ แต่ไทยที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียมาก่อนกลับปฏิวัติประชาธิปไตยล้มเหลว และล้าหลังกว่าทุกประเทศในเอเชียอีกด้วย โดยประเทศอื่นทำการปฏิวัติประชาชาติ และปฏิวัติประชาธิปไตยสำเร็จ กลายเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ประเทศไทยปฏิวัติประชาธิปไตยล้มเหลวเป็นการปฏิวัติครึ่งเดียว กลายเป็นประเทศด้อยพัฒนา
จึงเห็นควรนำเอาการปฏิวัติประชาธิปไตยในญี่ปุ่นมาศึกษาทบทวนโดยนำมาเปรียบเทียบกับประเทศไทยดังต่อไปนี้
1.การเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม
ประเทศไทยเริ่มต้นเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ.2401 ในสมัยราชการที่4 โดยถือเอาการกำเนิดขึ้นของโรงสีไฟของชาวอเมริกันเป็นจุดเริ่มต้น เพราะเป็นการเกิดขึ้นของ “นายทุน” และ “กรรมกร” ซึ่งเป็น
ประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมพร้อมๆกับไทยแต่ในปีพ.ศ.2403 สถานการณ์ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเกิดการผลักดันอย่างรุนแรงทั้งด้านภายในประเทศ และด้านภายนอกประเทศจึงส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สถานการณ์ปฏิวัติกระแส สูง อย่างรวดเร็ว
ด้านภายในประเทศเกิดจากระบบเศรษฐกิจฟิวดัลของญี่ปุ่นคือ โชกุนผู้กุมอำนาจรัฐกดขี้ประชาชนหนักเกินไป ชาวนาในเขตปกครองเหล่านักรบมีชีวิตความเป็นอยู่หนักกว่าทาสของไทยเสียอีก เพราะอาจถูกทำร้ายถึงตายเมื่อใดก็ได้ถ้าฝ่าฝืนคำสั่งของเหล่านักรบ
ด้านภายนอกเกิดจากการรุกรานทางเศรษฐกิจของต่างชาติคือถูกบังคับจากประเทศมหา อำนาจตะวันตกทั้ง อเมริกา อังกฤษ เนเธอร์เลนด์ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ให้เปิดประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม โดยใช้สนธิสัญญาที่ได้เปรียบเข้ารุกรานทางเศรษฐกิจสมัยใหม่อย่างรุนแรง ทำให้ญี่ปุ่นปรับตัวไม่ทัน เกิดวิกฤตข้าวยากหมากแพง ราคาข้าวสารขึ้นราคา 10 เท่า เพราะชาวนาญี่ปุ่นหนีไปอยู่กับฝ่ายมหาอำนาจซึ่งได้รับจ้างที่สูงกว่าพวก โชกุน จึงส่งผลให้รัฐบาลศักดินาของญี่ปุ่นคือ โชกุนตระกูล “โตกูกาวา” สั่นคลอนอย่างรุนแรงในรอบ 200 ปี รัฐบาลขาดเงินตราในการบริหารจึงทำการเก็บภาษามหาโหด และส่งผลให้เกิดจลาจลไปทั่วประเทศและโจมตีผู้กุมอำนาจรัฐว่า “ผู้ก่อให้เกิดการจลาจล”
ชาวนาทั่วประเทศเมื่อเจอภาษี “มหาโหด” เดือดร้อนอย่างหนักจึงลุกขึ้นสู้ขนาดใหญ่เป็นประวัติการ บุคเข้าทุบทำลายบ้านพักและทรัพย์สินของพวกขุนนาง รวมทั้งของนายทุนเงินกู้ดอกเบี้ยสูงมีการเผาโฉนดที่ทำกินซึ่งเป็นสัญญาเอา เปรียบของพวกโชกุนเจ้าที่ดินเผาหลักฐานการกู้ยืม ชาวนาเรียกร้องที่ดินทำกิน และยกเลิกหนี้สินเรียกร้องรัฐบาลให้ทำการเฉลี่ยทรัพย์สินเกิดความเป็นธรรม เรียกร้องให้ “องค์จักรพรรดิ” ขับไล่ “นากุผุ” หรือรัฐบาลศักดินาป่าเถื่อนในปี พ.ศ.2403 ญี่ปุ่นเกิดการจลาจลขนาดใหญ่ทั่วประเทศ 43 ครั้ง
สถานการณ์ที่ประชาชนไม่ยอมรับการปกครอง หรือประชาชนขัดแย้งกับ “ระบอบเผด็จการ” เริ่มขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางกลาเป็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่หา ทางออกไม่ได้ ได้ส่งผลให้ “ฝ่ายผู้ปกครองกับผู้ปกครองกับผู้ปกครอง” เกิดการต่อสู้กันเอง เพื่อแย้งอำนาจการปกครอง “กลุ่มนายทุน” กับ “กลุ่มอำนาจเก่า” ซึ่งเป็นพวกอนุรักษ์นิยม ต่อสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย โดนซามูไรแห่งแคว้นโชชูร่วมกับขุนนางข้าราชสำนักส่วนหนึ่ง บีบบังคับให้องค์จักรพรรดิต่อต้านรัฐบาลโชกุน ซึ่งเป็นกลุ่มนายทุนยุกขาด แต่ก็ถูกฝ่ายรัฐบาลจับกุม และ เข่นฆ่าพวกที่เป็นตัวการฝ่ายต่อต้านสถานการณ์ของญี่ปุ่นในปี 2403 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับประเทศไทยในปัจจุบันดูเหมือนจะมีสภาพไม่แตกต่างกัน มากนัก แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยเข้าสู่สถานการณ์ปฎิวัติประชาธิปไตยโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ต่อไป อีกแล้ว
ในปี พ.ศ.2406 รัฐบาลศักดินา โชกุนตระกูลโตกูกาวา นาม “อิเอโมฉิ” พยายามเข้าแก้วิกฤตอย่างสุดความสามารถด้วยการ “ประกาศดำเนินการปกครองแบบใหม่” หรือจะเรียกในปัจจุบันว่า “การปฏิรูปประเทศเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม” ก็ปรากฏว่าไร้ผลเพราะประชาชนไม่เอาด้วย เมื่อรัฐบาลตระกูลโตกูกาวาหาทางออกไม่ได้จึงจำเป็นต้องทำการรัฐประหารตัวเอง เพื่อปราบปรามฝ่ายก้าวหน้า โดยเฉพาะใช้ขออ้างว่าปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ้งแท้จริงก็คือเพื่อรักษาอำนาจการควบคุมองค์จักรพรรดิไว้ในกำมือของตน แต่ตระกูลโตกูกาวาก็ต้องประสบความล้มเหลว เพราะเป็นศักดินาซึ้งเป็นฝ่ายล้าหลังตามสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป แล้วไม่ทันนั้นเอง
ในปี พ.ศ.2410 การต่อสู้ของชาวนาได้มีการประสานงานกับ “กรรมกร” เป็นครั้งแรก โดยกรรมกรในเขต ควานโต ซึ้งเป็นฐานที่มั่นของฝ่ายรัฐบาลได้ลุกขึ้นสู้ จึงส่งผลให้กรรมกรญี่ปุ่นในแคว้นอื่นๆ ทั่วประเทศประกาศให้ร่วมเป็นพันธมิตรในการขับไล่รัฐบาลตระกูล “โตกูกาวา”
จากการลุกขึ้นสู้ของกรรมกรญี่ปุ่นที่ประเทศนี่เอง ทำให้โชกุลโตกูกาวาที่ครองอำนาจยาวนานถึง 20 ปี ต้องยอมถวายอำนาจคืนให้องค์จักรพรรดิ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2410
การโค่นล้ม ระบอบเผด็จการ หรือ ทำลายอำนาจอธิปไตยซึ้งมีตระกุลโตกูกาวาเป็นเจ้าของอำนาจลงได้นี้ เรียกว่า การปฎิวัติประชาธิปไตยของกลุ่มนายทุนสมัยใหม่ คล้ายกับการปฎิวัติประเทศอธิปไตยของ คณะราษฎร ของไทย เพราะมิได้ทำให้เกิดอำนาจอธิปไตยปวงชน อำนาจจึงตกอยู่ในคณะนักรบซามูไรซึ้งเป็นผู้แทนของชนส่วนน้อย เพราะหลังจากได้รับชัยชนะในการปราบพวกโตกูกาวาลงได้แล้ว คณะนักรบซามูไรก็ได้เอาองค์จักรพรรดิเป็นศูนย์กลางอำนาจเผด็จการของตน และมีการปราบปรามการกระบวนกรรมกรญี่ปุ่นที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยอย่าง เฉียบขาดรุนแรง แต่ก็เจอกับลุกขึ้นของขบวนการกรรมกรอย่างเข้มแข็ง รัฐบาลใหม่จึงต้องยอมจำนนทำการปฎิรูปการปกครองอีกครั้ง
วันที่ 11พฤศจิกายน 2411พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ 15 พรรษา 16/10/2416 แล้วกลับกลายเป็น 10 ต่อมาเป็น 12 กรกฎาคม 2417 ตั้งสภากรมองคมนตรี (PHVY COUNCIL)รัฐบาลเฉพาะ เรียกว่า “คำปฎิญาณ 5 ข้อ” ในปี พ.ศ.2411 คือ
1.ส่งเสริมการประชุมโดยให้มีผู้แทนประชาชนอย่างกว่างขวางทุกระดับ มีมติเห็นชอบด้วยกับนโยบายของรัฐบาล
2.เรียกร้องความสมานฉันห์ เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม
3.เรียกร้องความร่วมมือกันระหว่าง พลเรือนกับทหารยกเลิกชนชั้นวรรณะ (ทาสกสิกร์) และทำให้ประชาชนต้องมีงานทำ
4.ยึดถือ “ธรรมภิบาล” หรือหลักนิติธรรม โดยประชาชนต้องเคารพกฎหมายตาม “มรรคาของฟ้าดิน”
5.แสวงหาความรู้สมัยใหม่ เพื่อวางรากฐานสร้าง “นโยบายแห่งชาติ”
คำปฏิญาน 5 ข้อนี้ ก็คือ “ทฤษฎีปฏิวัติประชาธิปไตย” นั่นเอง
ในวันที่ 3 มกราคม 2412 พระจักรพรรดิ ทรงประกาศจัดตั้ง “รัฐแห่งชาติ” (NATION STATE) ในขณะที่พระจักรพรรดิมัตสูฮิโต ทรงมีพระชนมายุเพียง 16 ปี เท่านั้น
ซึ่งตรงกับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ในขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุ 15 ปี (ในปีพ.ศ. 2411 ) และ (FEUDAL STATE) เป็น “รัฐแห่งชาติ” เมื่อปี 2435
พระจักรพรรดิทรงจัดรูปการปกครองเป็นส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นโดยทรงรวมศูนย์ อำนาจการปกครอง (ADMINISTRATIVE POWERS) ในรูปของ “รัฐเดี่ยว” (UNITARY STATE) เรียกว่า “จักรวรรดิ” ส่วนรัชกาลที่5 ทรงจัดรูปการปกครองเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ในรูปของ “ราชอาณาจักร” (KING DOM)
ในปี 2415 รัฐบาลหลังจากเปลี่ยนรูปของรัฐเป็นราชอาณาจักรแล้ว ทรงทำการปฏิวัติประชาธิปไตยอย่างเต็มตัวด้วยการยกเลิก “ระบอบเผด็จการ” ทรงทำการปฏิรูปที่ให้ชาวนามีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทรงทำการปฏิวัติอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลังจากใช้กองทับแห่งชาติปราบ “กบฏ” ตระกูลโตกูกาวาในแคว้น สัตสุมะ “กบฏสัตสุมา” ลงได้อย่างราบคาบในปี 2420 หลังจากทรงสร้างประชาธิปไตยสำเร็จแล้วจึงมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2432 แสดงว่า ประเทศญี่ปุ่นสร้างระบอบประชาธิปไตยก่อนมีรัฐธรรมนูญถึง 17 ปี หรือจะนับจากกบฏสัตสุมาก็ 12 ปี
แต่สำหรับประเทศไทย รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จสวรรคตเสียกลางกลางคัน ประเทศไทยจึงสร้างประชาธิปไตยไม่สำเร็จ
พระจักรพรรดิมัตสุฮิโต ทรงทำการปฏิวัติประชาธิปไตยในญี่ปุ่นสำเร็จ เพราะอำนาจอธิไตยมิได้อยู่กับพระองค์ แต่อยู่กับตระกูลโดกุกาวา แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงไม่อาจทำการปฏิวัติประชาธิปไตย ก็เพราะในขณะนั้นอำนาจอธิปไตยทรงอยู่กับพระองค์จึงต้องทรงเรียกการเปลี่ยน แปลงของพระองค์ในขณะนั้นว่า คอนเวินแมนท์รีพอม (ทรงเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ)
แต่ปัจจุบันอำนาจอธิปไตยอยู่ในกำมือของ “ตระกูลชินวัตร” ดังนั้น สถานการณ์ในขณะนี้ถ้าจะสร้างประชาธิปไตยจึงมีทางเดียวคือ เปลี่ยนอำนาจอธิปไตยจากตระกูลชินวัตร มาเป็นอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเท่านั้น ไม่มีทางอื่นให้เลือกอีกแล้ว
ร.5 ทรงมีพระราชหัตถ์เลขาตอบคณะเจ้านายและขุนนางว่า “รวมความก็อย่างเดียวคือ คอเวินแมนท์รีฟอม นี่แลเป็นต้นเหตุที่จัดการทั้งปวงสำเร็จตลอด ถ้าเรื่องนี้ไม่เป็นการเรียบร้อยแล้วการอื่น ยากนักที่จะตลอดไปได้ เพราะฉะนั้น เราขอให้ท่านทั้งปวงคิดการเรื่องนี้ตามที่รับมาว่าจะคิดนั้นเถิด”
(ข้อมูลจากแฟ้มเอกสารของท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร)
edit:thongkrm_virut@yahoo.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น