ของหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งแสดงที่สโมสรกลาโหม
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๒
(สร้างสรรค์เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ โดย ท่านพระครูธีรสุตคุณ )
"มนุสสปฏิวัต (HUMAN REVOLUTION)"
ของหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งแสดงที่สโมสรกลาโหม
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๒
"มนุสสปฏิวัติ" ซ้ำเขียนภาษาอังกฤษกำกับไว้ว่า "Human Revolution" ด้วยนั้น ข้าพเจ้าวิตกว่านักปราชญ์บางท่านจะตำหนิว่าชื่อเรื่องไม่ตรงกับเนื้อเรื่อง ข้าพเจ้าจึงขอชี้แจงเสียแต่ชั้นต้นว่าวิชาการอันเกี่ยวกับเรื่องมนุ สสปฏิวัติ หรือ Human Revolution นั้น
มนุสสปฏิวัติ หรือ Human Revolution นั้นมีอยู่สามทาง คือ :
ทางที่หนึ่งเกี่ยวกับตัวมนุสส์ คือความผันแปรในรูปธรรมหรือความคิดที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ
ทางที่สองเกี่ยวกับฐานะของมนุสส์ในสังคม คือการเปลี่ยนสภาพมนุสส์จากความเป็นทาส ความสูงต่ำ และการแบ่งชั้นวรรณะ ให้กลายเป็นเสรีภาพและสมภาพ การปฏิวัติครั้งใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทางประวัติศาสตร์ถือว่าเป็น "มนุสสปฏิวัติ" (Human Revolution) ได้เรื่องหนึ่งนั้น ก็หมายถึงทางที่สองนี้
ทางที่สาม คือการเปลี่ยนลักษณะนิสสัยใจมนุสส์ จากสภาพอันไม่พึงปรารถนา ให้เข้าสู่สภาพอันพึงปรารถนา ที่กล่าวกันว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทางเป็นนักปฏิวัติอย่างสูงสุดนั้น ก็หมายถึงทางที่สามนี้เป็นสำคัญและเกี่ยวไปถึงทางที่สองด้วย
เรื่ืองมนุสสปฏิวัติ (Human Revolution) มีอยู่ถึงสามทางเช่นนี้ ท่านทั้งหลายคงเห็นแล้วว่าเป็นการพ้นวิสัยที่จะกล่าวในปาฐกถาครั้งเดียวนี้ ให้ครบถ้วนทั้งสามทางได้ ความตั้งใจของข้าพเจ้าในวันนี้ จะกล่าวแต่ฉะเพาะทางที่สาม คือการปฏิวัติอันเกี่ยวกับลักษณะและนิสสัยใจมนุสส์เท่านั้น ข้าพเจ้าจึงขอแจ้งเรื่องนี้ไว้ก่อน เพื่อป้องกันการที่นักปราชญ์จะตำหนิว่าปาฐกถาของข้าพเจ้าบกพร่อง
อีกข้อหนึ่งซึ่งเราจะต้องทำความเข้าใจกัน คือความหมายของคำว่า "ปฏิวัติ" ข้าพเจ้าเคยอธิบายทั้งในข้อเขียนและปาฐกถามาหลายครั้งแล้ว แต่ก็อยากกล่าวซ้ำในที่นี้อีก เพราะเรื่องปฏิวัตินั้นเรามักจะไม่เข้าใจกันให้พอเหมาะพอควร ในสมัยก่อนวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ เราเข้าใจเรื่องปฏิวัติแคบเกินไป แต่พอในสมัยหลังจากวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ เขาเข้าใจเรื่องปฏิวัติกว้างเกินไป
ทั้งนี้เป็นที่น่าเสียใจเพราะปฏิวัติเป็นความที่ งานปฏิวัติเป็นงานที่ให้คุณให้ประโยชน์ แต่เราจะต้องเข้าใจความหมายของคำนี้ให้พอเหมาะพอดี ไม่แคบเกินไปและไม่กว้างเกินไป
ที่ข้าพเจ้ากล่าวว่าในสมัยก่อนวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ เราเข้าใจคำปฏิวัติแคบเกินไปนั้น ก็เพราะว่าในสมัยนั้น เราเข้าใจว่าปฏิวัติกับกปฏเป็นอย่างเดียวกัน จนไม่มีใครกล้าพูดถึงเรื่องปฏิวัติอย่างเปิดเผย แต่ครั้งมาภายหลังวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ จนกะทั่งถึงวันนี้ เราเข้าใจคำว่า "ปฏิวัติ" กว้างเกินไป ถึงกับว่าใครจะก่อกวนให้เกิดความวุ่นวายไม่สงบขึ้นในทางการเมืองก็มักจะ เรียกกันว่าปฏิวัติ
ความจริงคำว่าปฏิวัติหมายถึงการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องเป็ฯไปตามปกติภาพของโลก เป็นการเปลี่ยนสิ่งที่ไม่ดีให้กลับเป็นดี แต่มิได้หมายถึงการก่อกวนสภาพการณ์ที่กำลังดำเนินไปด้วยดีให้กลับยุ่งยาก ขึ้น งานปฏิวัติเป็นงานที่ต้องทำเพื่อมุ่งประโยชน์แก่คนทั้งชาติ แต่มิใช่เพื่อประโยชน์แก่คนบางคน บางพวก บางชั้น
บทสรุปส่งท้าย จากข้อเท็จจริงที่พบ พบว่า การปฏิวัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการปฏิวัติเพื่อมุ่งหวังอำนาจ ยศ ตำแหน่ง ตลอดถึงความร่ำรวยด้วยเงินตราของตน พวกของตน พรรคของตน คนบางกลุ่ม แต่ไม่เคยทำเพื่อมุ่งหวังประโยชน์แก่คนทั้งชาติ แก่ประเทศชาติเลย แต่ทุกครั้งที่ทำก็มักจะอ้างเพื่อประชาชน เพื่อชาติ เพื่อพระเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น แต่พอทำเสร็จแล้ว ประชาชนได้อะไร ? ประเทศชาติได้อะไร ? พระเจ้าอยู่ได้อะไร ? คงมีเพียงความบอบซ้ำ หายนะ ซากปลักหักพังที่คงเหลืออยู่ให้ประเทศชาติ ประชาชนได้รับเป็นมรดกตกทอดอย่างปฏิเสธไม่ได้ เป็นอย่างนี้อยู่ร่ำไป
"การปฏิวัติเป็นงานที่ต้องทำเพื่อมุ่งประโยชน์แก่คนทั้งชาติ แต่มิใช่เพื่อประโยชน์แก่คนบางคน บางพวก บางชั้น"
ความเปลี่ยนแปลงซึ่งอยู่ในลักษณะของงานปฏิวัตินั้น เป็นความเปลี่ยนแปลงซึ่งจำต้องทำ ถ้าไม่ทำก็จะเกิดผลร้ายเสียหายแก่ประเทศชาติอันเป็นส่วนรวม ด้วยเหตุนี้ งานปฏิวัติที่ถูกต้องถ่องแท้ จึงมักได้รับความเห็นชอบสนับสนุนของมหาชนอยู่เสมอ
แต่การเปลี่ยนแปลงซึ่งไม่อยู่ในลักษณะข้างต้นเป็นการเปลี่ยนตามใจคน เปลี่ยนเพื่อประโยชน์ของบุคคล ไม่เรียกว่า "ปฏิวัติ"
ด้วยเหตุที่งานปฏิวัติเป็นงานที่ทำโดยความเห็นชอบสนันสนุนของมหาชนนี้เอง นักปฏิวัติจึงไม่เรียกว่ากบฏ และนักกบฏหรือนักก่อการจลาจลจึงไม่มีสิทธิจะเรียกตนว่าเป็นนักปฏิวัติ ปราชญ์ฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ เออเยน สคริบ (Eugene Scribe) กล่าวไว้ว่า ผู้ที่มติมหาชนกล่าวคือ ชาติมิได้อยู่ข้างตนนั้น อาจจะก่อกวนให้เกิดความลำบากขึ้นก็ได้ อาจจะสมคบกันิดการรุนแรงอะไรก็ได้ แต่พวกนั้นสามารถจะทำได้แต่เพียงการจลาจล ไม่สามารถจะทำการปฏิวัติ (Quand on n'a pas pour soi I'opinion publique, c'est~a~dire la nation, on peut susciter des troubles, des complots, on peut faire des revoltes mais non pas des revolutions) ท่านที่รู้ภาษาฝรั่งคงเข้าใจซึบซาบดีแล้วว่า Revolte กับ Revolution นั้นผิดกันมาก
รวมความว่างานปฏิวัติเป็นงานที่ดี เป็นกุศลกรรม แต่เป็นงานที่ลำบาก เป็นงานที่ทำยาก เป็นงานที่ต้องใช้เวลานาน งานปฏิวัติอาจเริ่มต้นด้วยรัฐประหาร คือ Coup d'Etat แต่รัฐประหารเป็นแต่การเริ่มเปิดฉากงานปฏิวัติเท่านั้น เมื่องานรัฐประหารเสร็จแล้ว งานปฏิวัติยังจะต้องทำต่อไปอีกเป็นแรมปี อย่างเดียวกับในประเทศเรา ซึ่งงานรัฐประหารคือ Coup d'Etat ทำเสร็จในชั่วเวลา ๒-๓ ชั่วโมง แต่งานปฏิวัติยังต้องทำกันมาจนทุกวันนี้ และก็ยังไม่เสร็จ อาจจะต้องทำกันต่อไปอีกหลายปี ในระหว่างเวลาที่ทำงานปฏิวัตินั้น เราต้องเรียกว่าเป็นหัวต่อหัวเลี้ยว รัฐธรรมนูญของเราได้กำหนดเวลาหัวต่อหัวเลี้ยวไว้ ๑๐ ปี ซึ่งข้าพเจ้าเองยังไม่แน่ในว่าจะพอ เพราะเวลาหัวต่อหัวเลี้ยวนี้เป็นเวลาของงานปฏิวัติซึ่งจะทำให้เสร็จโดยรวด เร็วหาได้ไม่ ปราชญ์ฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ ชาโตบริยังค์ (Chateaubriand) กล่าวไว้ว่าการปฏิวัติเป็นการต่อสู้ในระหว่างอดีตกับอนาคต (La Revolution cst un combat entre le passe et l'avenir) โดยนัยนี้
งานปฏิวัติจึงมิใช่งานที่เสร็จง่าย ๆ ในการปฏิวัติใหญ่ของประเทศฝรั่งเศสนั้น ซื่อที่เรียกว่ารัฐบาลปฏิวัติ (Gouvernement Revolutionnaire) ยังใช้มาจนถึงปลายสมัยนโปเลียนที่ ๑ ซึ่งแปลว่าเป็นเวลาตั้ง ๓๐ ปี ที่เป็นดั่งนี้เพราะว่างานปฏิวัติ เป็นงานซึ่งต้องทำไม่ฉะเพาะแต่เปลี่ยนระบอบการปกครอง เปลี่ยนระบอบการเศรษฐกิจ การคลัง และการศึกษาเท่านั้น
งานปฏิวัติจะต้องทำให้ตลอดถึงการเปลี่ยนลักษณะนิสสัยใจมนุสส์ ซึ่งเป็นความมุ่งหมายแห่งปาฐกถาของข้าพเจ้าในวันนี้ด้วย
บทสรุปส่งท้าย จากข้อเท็จจริงที่พบ พบว่า นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (๒๔๗๕ - ๒๕๕๗) ได้มีการทำการปฏิวัติ รัฐประหาร และการก่อกบฏ เป็นจำนวน ๒๐ กว่าครั้ง แต่ก็ไม่เห็นประเทศดีขึ้นเลย ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์เลย โดยเฉพาะ ๒ ครั้งหลัง คือ เมื่อปี ๒๕๓๔ ยุค พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ ๑๗ และเมื่อปี ๒๕๔๙ ยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๓ นับเป็นเวลา ๒๐ กว่าปี ประเทศกลับถอยหลังอยากที่จะกู้กลับได้ นี่เป็นการตอบโจทย์ว่า "ปฏิวัติ" แล้วประเทศได้อะไร ? ประชาชนได้อะไร ? บ้านเมืองยิ่งมาความแตกแยกมากขึ้น ประชาชนแบ่งเป็นฝ่ายมากขึ้น ปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การโกงคอรัปชั่น ฯลฯ ก็ไม่ได้ลดลง เพราะการปฏิวัติไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงถึงลักษณะนิสัยใจของมนุษย์ เป็นแต่เพียงการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครอง จากคนนั้น มาเป็นคนนี้ จากพวกนั้น มาเป็นพวกนี้ จากพรรคนั้น มาเป็นพรรคนี้ นักการเมืองร่ำรวยมากขึ้น ประชาชนจนลงทุกวัน การปฏิวัติเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก "ประชาธิปไตย" มาเป็น "กิเลสาธิปไตย" เมื่อเป็นเช่นนี้ ขอตั้งเป็นคำถามทิ้งท้ายไว้ว่า ประเทศได้อะไร ? ประชาชนได้อะไร ?
รัฐบาลของเราในปัจจุบันนี้ เป็นรัฐบาลปฏิวัติ งานที่เรากำลังทำอยู่ในเวลานี้เป็นงานปฏิวัติ เราได้ทำมาแล้วมาก และยังจะต้องทำต่อไปอีกมาก
ปราชญ์ฝรั่งเศส คือ ชาโตบริยังด์ ที่ข้าพเจ้ากล่าวนามมาข้างต้นนั้น ได้กล่าวไว้อีกว่า ผู้ที่ทำการปฏิวัติเพียงครึ่งเดียวนั้นก็เท่ากับขุดหลุมฝังศพของตนเอง (Ceux qui font la revolution moitie ne font que se creuser un tombeau) ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ความจริงข้อนี้มาหลายเรื่อง โอลิเวอร์ครอมเวลล์ เป็นคนสำคัญคนหนึ่ง และผลของการเปลี่ยนแปลงที่ครอมเวลล์ทำไว้นั้น มีหลายเรื่องที่ยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศอังกฤษในเวลานี้ เรื่องสำคัญคือังกฤษมีอำนาจใหญ่หลวงที่สุดทางทะเลในปัจจุบัน ก็เพราะงานที่ครอมเวลล์เริ่มทำไว้แท้ ๆ แต่ครอมเวลล์ทำงานปฏิวัติเพียงครึ่งเดียว ไปลืมเสียครึ่งหนึ่ง ครอมเวลล์ต้องถูกกลับหาว่าเป็นกบฏภายหลังที่ตัวตายไปแล้ว ศพของครอมเวลล์ที่ฝังไว้แล้ว ก็ยังถูกขุดเอาขึ้นมาแขวนคอ เป็นเหตุการณ์อันแปลกประหลาดของโลก ที่คนตายแล้วต้องถูกประหารชีวิตให้ตายอีกครั้งหนึ่ง พวกทำการปฏิวัติครั้งใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพูมใจยิ่งในความเป็นนักปฏิวัติของตน ถึงกับเรียกงานปฏิวัติของตนว่า มนุสสปฏิวัติ (Revolution humaine) เรียกคณะรัฐบาลของตัว และคณะที่สืบต่อมาว่า รัฐบาลปฏิวัติ (Gouvemement Revolutionnaire) นั้น ก็ลืมงานปฏิวัติเสียครึ่งหนึ่งเหมือนกัน จึงได้เกิดการผันผวนปรวนแปรถึงกับวงศ์บูรบอง กลับมาได้อำนาจใหม่ และรัฐบาลปฏิวัตินั้นก็ล้มลุกคลุกคลานมาตั้งกึ่งศตวรรษ
ทั้งนี้ยกมาให้เห็นแต่การปฏิวัติครั้งใหญ่ ๆ และเท่าที่ควรจะนำมากล่าว รวมความว่างานปฏิวัตินั้น ถ้าจะทำต้องทำให้ตลอด ถ้าไม่ทำอย่าทำเลย การทำเพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ นั้นเป็นอันตรายจริงดั่งที่ชาโตบริยังค์ว่า อันตรายนี้จะมีไม่แต่ฉะเพาะตัวผู้นำ ยังอาจมีตลอดไปถึงบ้านเมืองและประชาชนส่วนรวมด้วย ตามเรื่องที่ข้าพเจ้าลองพินิจพิจารณามาหลายเรื่อง มักจะได้ผลลัพท์เหมือน ๆ กัน คือครึ่งหนึ่งที่ไม่ได้ทำหรือลืมทำเสียนั้น มักเป็นเรื่องคน
เป็นธรรมดาของนักปฏิวัติทุกคนและทุกคณะ ย่อมเริ่มงานปฏิวัติด้วยการเปลี่ยนระบอบการปกครอง ต่อมาก็ระบอบเศรษฐกิจ และอื่น ๆ อันเป็นเครื่องจักรเกี่ยวกับงานของประเทศ ส่วนเรื่องคนแท้ ๆ หรือมนุสสปฏิวัตินั้นมักไม่ค่อยได้ทำ
บทสรุปส่งท้าย จากข้อเท็จจริงที่พบ พบว่า การทำการปฏิวัติในประวัติศาสตร์ของไทย นับเป็นการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวผู้ปกครองเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วมักอ้างเหตุผลของการปฏิวัติว่า รัฐบาลมีการคอรัปชั่น แต่แล้วก็ไม่เห็นแก้ปัญหาคอรัปชั่นได้เลย คอรัปชั่นก็ยังคงอยู่กลับทวีมากขึ้น ๆ นั่นเพราะเราปฏิวัติแต่ตัวคน แต่เราไม่เคยปฏิวัติจิตใจของคนเลย นี่ที่เรียกว่า เผด็จการกับตัวบุคคล ประชาธิปไตยกับกิเลสไง ส่วนเรื่องระบอบเศรษฐกิจ ระบอบการเมือง ระบอบการปกครอง ระบอบวัฒนธรรม ระบอบศีลธรรม และระบอบการศึกษา ฯลฯ มิได้ทำการปฏิวัติเลย เพราะคำว่า "ปฏิวัติ" (revoluton) ในทางรัฐศาสตร์ หมายถึง การเปลี่ยนรูปแบบหรือระบอบการปกครองประเทศ จากรูปแบบหนึ่ง ไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง อย่างสิ้นเชิง เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศส (เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ)หรือ ในประเทศไทย ก็คือสมัย รัชกาลที่ ๗ ที่เปลี่ยนจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่มุ่งเน้นเจตนาเพื่อทำให้ดีขึ้น ให้เจริญขึ้น ถ้าปฏิวัติแล้วย่ำอยู่กับที่ก็ไม่รู้ปฏิวัติไปทำไม
"มนุสสปฏิวัต (HUMAN REVOLUTION)" ของหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งแสดงที่สโมสรกลาโหม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๒ สร้างสรรค์เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ โดย ท่านพระครูธีรสุตคุณ เจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช )
Edit: thongkrm_virut@yahoo.com
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๒
(สร้างสรรค์เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ โดย ท่านพระครูธีรสุตคุณ )
"มนุสสปฏิวัต (HUMAN REVOLUTION)"
ของหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งแสดงที่สโมสรกลาโหม
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๒
"มนุสสปฏิวัติ" ซ้ำเขียนภาษาอังกฤษกำกับไว้ว่า "Human Revolution" ด้วยนั้น ข้าพเจ้าวิตกว่านักปราชญ์บางท่านจะตำหนิว่าชื่อเรื่องไม่ตรงกับเนื้อเรื่อง ข้าพเจ้าจึงขอชี้แจงเสียแต่ชั้นต้นว่าวิชาการอันเกี่ยวกับเรื่องมนุ สสปฏิวัติ หรือ Human Revolution นั้น
มนุสสปฏิวัติ หรือ Human Revolution นั้นมีอยู่สามทาง คือ :
ทางที่หนึ่งเกี่ยวกับตัวมนุสส์ คือความผันแปรในรูปธรรมหรือความคิดที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ
ทางที่สองเกี่ยวกับฐานะของมนุสส์ในสังคม คือการเปลี่ยนสภาพมนุสส์จากความเป็นทาส ความสูงต่ำ และการแบ่งชั้นวรรณะ ให้กลายเป็นเสรีภาพและสมภาพ การปฏิวัติครั้งใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทางประวัติศาสตร์ถือว่าเป็น "มนุสสปฏิวัติ" (Human Revolution) ได้เรื่องหนึ่งนั้น ก็หมายถึงทางที่สองนี้
ทางที่สาม คือการเปลี่ยนลักษณะนิสสัยใจมนุสส์ จากสภาพอันไม่พึงปรารถนา ให้เข้าสู่สภาพอันพึงปรารถนา ที่กล่าวกันว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทางเป็นนักปฏิวัติอย่างสูงสุดนั้น ก็หมายถึงทางที่สามนี้เป็นสำคัญและเกี่ยวไปถึงทางที่สองด้วย
เรื่ืองมนุสสปฏิวัติ (Human Revolution) มีอยู่ถึงสามทางเช่นนี้ ท่านทั้งหลายคงเห็นแล้วว่าเป็นการพ้นวิสัยที่จะกล่าวในปาฐกถาครั้งเดียวนี้ ให้ครบถ้วนทั้งสามทางได้ ความตั้งใจของข้าพเจ้าในวันนี้ จะกล่าวแต่ฉะเพาะทางที่สาม คือการปฏิวัติอันเกี่ยวกับลักษณะและนิสสัยใจมนุสส์เท่านั้น ข้าพเจ้าจึงขอแจ้งเรื่องนี้ไว้ก่อน เพื่อป้องกันการที่นักปราชญ์จะตำหนิว่าปาฐกถาของข้าพเจ้าบกพร่อง
อีกข้อหนึ่งซึ่งเราจะต้องทำความเข้าใจกัน คือความหมายของคำว่า "ปฏิวัติ" ข้าพเจ้าเคยอธิบายทั้งในข้อเขียนและปาฐกถามาหลายครั้งแล้ว แต่ก็อยากกล่าวซ้ำในที่นี้อีก เพราะเรื่องปฏิวัตินั้นเรามักจะไม่เข้าใจกันให้พอเหมาะพอควร ในสมัยก่อนวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ เราเข้าใจเรื่องปฏิวัติแคบเกินไป แต่พอในสมัยหลังจากวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ เขาเข้าใจเรื่องปฏิวัติกว้างเกินไป
ทั้งนี้เป็นที่น่าเสียใจเพราะปฏิวัติเป็นความที่ งานปฏิวัติเป็นงานที่ให้คุณให้ประโยชน์ แต่เราจะต้องเข้าใจความหมายของคำนี้ให้พอเหมาะพอดี ไม่แคบเกินไปและไม่กว้างเกินไป
ที่ข้าพเจ้ากล่าวว่าในสมัยก่อนวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ เราเข้าใจคำปฏิวัติแคบเกินไปนั้น ก็เพราะว่าในสมัยนั้น เราเข้าใจว่าปฏิวัติกับกปฏเป็นอย่างเดียวกัน จนไม่มีใครกล้าพูดถึงเรื่องปฏิวัติอย่างเปิดเผย แต่ครั้งมาภายหลังวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ จนกะทั่งถึงวันนี้ เราเข้าใจคำว่า "ปฏิวัติ" กว้างเกินไป ถึงกับว่าใครจะก่อกวนให้เกิดความวุ่นวายไม่สงบขึ้นในทางการเมืองก็มักจะ เรียกกันว่าปฏิวัติ
ความจริงคำว่าปฏิวัติหมายถึงการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องเป็ฯไปตามปกติภาพของโลก เป็นการเปลี่ยนสิ่งที่ไม่ดีให้กลับเป็นดี แต่มิได้หมายถึงการก่อกวนสภาพการณ์ที่กำลังดำเนินไปด้วยดีให้กลับยุ่งยาก ขึ้น งานปฏิวัติเป็นงานที่ต้องทำเพื่อมุ่งประโยชน์แก่คนทั้งชาติ แต่มิใช่เพื่อประโยชน์แก่คนบางคน บางพวก บางชั้น
บทสรุปส่งท้าย จากข้อเท็จจริงที่พบ พบว่า การปฏิวัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการปฏิวัติเพื่อมุ่งหวังอำนาจ ยศ ตำแหน่ง ตลอดถึงความร่ำรวยด้วยเงินตราของตน พวกของตน พรรคของตน คนบางกลุ่ม แต่ไม่เคยทำเพื่อมุ่งหวังประโยชน์แก่คนทั้งชาติ แก่ประเทศชาติเลย แต่ทุกครั้งที่ทำก็มักจะอ้างเพื่อประชาชน เพื่อชาติ เพื่อพระเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น แต่พอทำเสร็จแล้ว ประชาชนได้อะไร ? ประเทศชาติได้อะไร ? พระเจ้าอยู่ได้อะไร ? คงมีเพียงความบอบซ้ำ หายนะ ซากปลักหักพังที่คงเหลืออยู่ให้ประเทศชาติ ประชาชนได้รับเป็นมรดกตกทอดอย่างปฏิเสธไม่ได้ เป็นอย่างนี้อยู่ร่ำไป
"การปฏิวัติเป็นงานที่ต้องทำเพื่อมุ่งประโยชน์แก่คนทั้งชาติ แต่มิใช่เพื่อประโยชน์แก่คนบางคน บางพวก บางชั้น"
ความเปลี่ยนแปลงซึ่งอยู่ในลักษณะของงานปฏิวัตินั้น เป็นความเปลี่ยนแปลงซึ่งจำต้องทำ ถ้าไม่ทำก็จะเกิดผลร้ายเสียหายแก่ประเทศชาติอันเป็นส่วนรวม ด้วยเหตุนี้ งานปฏิวัติที่ถูกต้องถ่องแท้ จึงมักได้รับความเห็นชอบสนับสนุนของมหาชนอยู่เสมอ
แต่การเปลี่ยนแปลงซึ่งไม่อยู่ในลักษณะข้างต้นเป็นการเปลี่ยนตามใจคน เปลี่ยนเพื่อประโยชน์ของบุคคล ไม่เรียกว่า "ปฏิวัติ"
ด้วยเหตุที่งานปฏิวัติเป็นงานที่ทำโดยความเห็นชอบสนันสนุนของมหาชนนี้เอง นักปฏิวัติจึงไม่เรียกว่ากบฏ และนักกบฏหรือนักก่อการจลาจลจึงไม่มีสิทธิจะเรียกตนว่าเป็นนักปฏิวัติ ปราชญ์ฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ เออเยน สคริบ (Eugene Scribe) กล่าวไว้ว่า ผู้ที่มติมหาชนกล่าวคือ ชาติมิได้อยู่ข้างตนนั้น อาจจะก่อกวนให้เกิดความลำบากขึ้นก็ได้ อาจจะสมคบกันิดการรุนแรงอะไรก็ได้ แต่พวกนั้นสามารถจะทำได้แต่เพียงการจลาจล ไม่สามารถจะทำการปฏิวัติ (Quand on n'a pas pour soi I'opinion publique, c'est~a~dire la nation, on peut susciter des troubles, des complots, on peut faire des revoltes mais non pas des revolutions) ท่านที่รู้ภาษาฝรั่งคงเข้าใจซึบซาบดีแล้วว่า Revolte กับ Revolution นั้นผิดกันมาก
รวมความว่างานปฏิวัติเป็นงานที่ดี เป็นกุศลกรรม แต่เป็นงานที่ลำบาก เป็นงานที่ทำยาก เป็นงานที่ต้องใช้เวลานาน งานปฏิวัติอาจเริ่มต้นด้วยรัฐประหาร คือ Coup d'Etat แต่รัฐประหารเป็นแต่การเริ่มเปิดฉากงานปฏิวัติเท่านั้น เมื่องานรัฐประหารเสร็จแล้ว งานปฏิวัติยังจะต้องทำต่อไปอีกเป็นแรมปี อย่างเดียวกับในประเทศเรา ซึ่งงานรัฐประหารคือ Coup d'Etat ทำเสร็จในชั่วเวลา ๒-๓ ชั่วโมง แต่งานปฏิวัติยังต้องทำกันมาจนทุกวันนี้ และก็ยังไม่เสร็จ อาจจะต้องทำกันต่อไปอีกหลายปี ในระหว่างเวลาที่ทำงานปฏิวัตินั้น เราต้องเรียกว่าเป็นหัวต่อหัวเลี้ยว รัฐธรรมนูญของเราได้กำหนดเวลาหัวต่อหัวเลี้ยวไว้ ๑๐ ปี ซึ่งข้าพเจ้าเองยังไม่แน่ในว่าจะพอ เพราะเวลาหัวต่อหัวเลี้ยวนี้เป็นเวลาของงานปฏิวัติซึ่งจะทำให้เสร็จโดยรวด เร็วหาได้ไม่ ปราชญ์ฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ ชาโตบริยังค์ (Chateaubriand) กล่าวไว้ว่าการปฏิวัติเป็นการต่อสู้ในระหว่างอดีตกับอนาคต (La Revolution cst un combat entre le passe et l'avenir) โดยนัยนี้
งานปฏิวัติจึงมิใช่งานที่เสร็จง่าย ๆ ในการปฏิวัติใหญ่ของประเทศฝรั่งเศสนั้น ซื่อที่เรียกว่ารัฐบาลปฏิวัติ (Gouvernement Revolutionnaire) ยังใช้มาจนถึงปลายสมัยนโปเลียนที่ ๑ ซึ่งแปลว่าเป็นเวลาตั้ง ๓๐ ปี ที่เป็นดั่งนี้เพราะว่างานปฏิวัติ เป็นงานซึ่งต้องทำไม่ฉะเพาะแต่เปลี่ยนระบอบการปกครอง เปลี่ยนระบอบการเศรษฐกิจ การคลัง และการศึกษาเท่านั้น
งานปฏิวัติจะต้องทำให้ตลอดถึงการเปลี่ยนลักษณะนิสสัยใจมนุสส์ ซึ่งเป็นความมุ่งหมายแห่งปาฐกถาของข้าพเจ้าในวันนี้ด้วย
บทสรุปส่งท้าย จากข้อเท็จจริงที่พบ พบว่า นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (๒๔๗๕ - ๒๕๕๗) ได้มีการทำการปฏิวัติ รัฐประหาร และการก่อกบฏ เป็นจำนวน ๒๐ กว่าครั้ง แต่ก็ไม่เห็นประเทศดีขึ้นเลย ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์เลย โดยเฉพาะ ๒ ครั้งหลัง คือ เมื่อปี ๒๕๓๔ ยุค พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ ๑๗ และเมื่อปี ๒๕๔๙ ยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๓ นับเป็นเวลา ๒๐ กว่าปี ประเทศกลับถอยหลังอยากที่จะกู้กลับได้ นี่เป็นการตอบโจทย์ว่า "ปฏิวัติ" แล้วประเทศได้อะไร ? ประชาชนได้อะไร ? บ้านเมืองยิ่งมาความแตกแยกมากขึ้น ประชาชนแบ่งเป็นฝ่ายมากขึ้น ปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การโกงคอรัปชั่น ฯลฯ ก็ไม่ได้ลดลง เพราะการปฏิวัติไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงถึงลักษณะนิสัยใจของมนุษย์ เป็นแต่เพียงการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครอง จากคนนั้น มาเป็นคนนี้ จากพวกนั้น มาเป็นพวกนี้ จากพรรคนั้น มาเป็นพรรคนี้ นักการเมืองร่ำรวยมากขึ้น ประชาชนจนลงทุกวัน การปฏิวัติเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก "ประชาธิปไตย" มาเป็น "กิเลสาธิปไตย" เมื่อเป็นเช่นนี้ ขอตั้งเป็นคำถามทิ้งท้ายไว้ว่า ประเทศได้อะไร ? ประชาชนได้อะไร ?
รัฐบาลของเราในปัจจุบันนี้ เป็นรัฐบาลปฏิวัติ งานที่เรากำลังทำอยู่ในเวลานี้เป็นงานปฏิวัติ เราได้ทำมาแล้วมาก และยังจะต้องทำต่อไปอีกมาก
ปราชญ์ฝรั่งเศส คือ ชาโตบริยังด์ ที่ข้าพเจ้ากล่าวนามมาข้างต้นนั้น ได้กล่าวไว้อีกว่า ผู้ที่ทำการปฏิวัติเพียงครึ่งเดียวนั้นก็เท่ากับขุดหลุมฝังศพของตนเอง (Ceux qui font la revolution moitie ne font que se creuser un tombeau) ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ความจริงข้อนี้มาหลายเรื่อง โอลิเวอร์ครอมเวลล์ เป็นคนสำคัญคนหนึ่ง และผลของการเปลี่ยนแปลงที่ครอมเวลล์ทำไว้นั้น มีหลายเรื่องที่ยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศอังกฤษในเวลานี้ เรื่องสำคัญคือังกฤษมีอำนาจใหญ่หลวงที่สุดทางทะเลในปัจจุบัน ก็เพราะงานที่ครอมเวลล์เริ่มทำไว้แท้ ๆ แต่ครอมเวลล์ทำงานปฏิวัติเพียงครึ่งเดียว ไปลืมเสียครึ่งหนึ่ง ครอมเวลล์ต้องถูกกลับหาว่าเป็นกบฏภายหลังที่ตัวตายไปแล้ว ศพของครอมเวลล์ที่ฝังไว้แล้ว ก็ยังถูกขุดเอาขึ้นมาแขวนคอ เป็นเหตุการณ์อันแปลกประหลาดของโลก ที่คนตายแล้วต้องถูกประหารชีวิตให้ตายอีกครั้งหนึ่ง พวกทำการปฏิวัติครั้งใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพูมใจยิ่งในความเป็นนักปฏิวัติของตน ถึงกับเรียกงานปฏิวัติของตนว่า มนุสสปฏิวัติ (Revolution humaine) เรียกคณะรัฐบาลของตัว และคณะที่สืบต่อมาว่า รัฐบาลปฏิวัติ (Gouvemement Revolutionnaire) นั้น ก็ลืมงานปฏิวัติเสียครึ่งหนึ่งเหมือนกัน จึงได้เกิดการผันผวนปรวนแปรถึงกับวงศ์บูรบอง กลับมาได้อำนาจใหม่ และรัฐบาลปฏิวัตินั้นก็ล้มลุกคลุกคลานมาตั้งกึ่งศตวรรษ
ทั้งนี้ยกมาให้เห็นแต่การปฏิวัติครั้งใหญ่ ๆ และเท่าที่ควรจะนำมากล่าว รวมความว่างานปฏิวัตินั้น ถ้าจะทำต้องทำให้ตลอด ถ้าไม่ทำอย่าทำเลย การทำเพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ นั้นเป็นอันตรายจริงดั่งที่ชาโตบริยังค์ว่า อันตรายนี้จะมีไม่แต่ฉะเพาะตัวผู้นำ ยังอาจมีตลอดไปถึงบ้านเมืองและประชาชนส่วนรวมด้วย ตามเรื่องที่ข้าพเจ้าลองพินิจพิจารณามาหลายเรื่อง มักจะได้ผลลัพท์เหมือน ๆ กัน คือครึ่งหนึ่งที่ไม่ได้ทำหรือลืมทำเสียนั้น มักเป็นเรื่องคน
เป็นธรรมดาของนักปฏิวัติทุกคนและทุกคณะ ย่อมเริ่มงานปฏิวัติด้วยการเปลี่ยนระบอบการปกครอง ต่อมาก็ระบอบเศรษฐกิจ และอื่น ๆ อันเป็นเครื่องจักรเกี่ยวกับงานของประเทศ ส่วนเรื่องคนแท้ ๆ หรือมนุสสปฏิวัตินั้นมักไม่ค่อยได้ทำ
บทสรุปส่งท้าย จากข้อเท็จจริงที่พบ พบว่า การทำการปฏิวัติในประวัติศาสตร์ของไทย นับเป็นการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวผู้ปกครองเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วมักอ้างเหตุผลของการปฏิวัติว่า รัฐบาลมีการคอรัปชั่น แต่แล้วก็ไม่เห็นแก้ปัญหาคอรัปชั่นได้เลย คอรัปชั่นก็ยังคงอยู่กลับทวีมากขึ้น ๆ นั่นเพราะเราปฏิวัติแต่ตัวคน แต่เราไม่เคยปฏิวัติจิตใจของคนเลย นี่ที่เรียกว่า เผด็จการกับตัวบุคคล ประชาธิปไตยกับกิเลสไง ส่วนเรื่องระบอบเศรษฐกิจ ระบอบการเมือง ระบอบการปกครอง ระบอบวัฒนธรรม ระบอบศีลธรรม และระบอบการศึกษา ฯลฯ มิได้ทำการปฏิวัติเลย เพราะคำว่า "ปฏิวัติ" (revoluton) ในทางรัฐศาสตร์ หมายถึง การเปลี่ยนรูปแบบหรือระบอบการปกครองประเทศ จากรูปแบบหนึ่ง ไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง อย่างสิ้นเชิง เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศส (เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ)หรือ ในประเทศไทย ก็คือสมัย รัชกาลที่ ๗ ที่เปลี่ยนจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่มุ่งเน้นเจตนาเพื่อทำให้ดีขึ้น ให้เจริญขึ้น ถ้าปฏิวัติแล้วย่ำอยู่กับที่ก็ไม่รู้ปฏิวัติไปทำไม
"มนุสสปฏิวัต (HUMAN REVOLUTION)" ของหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งแสดงที่สโมสรกลาโหม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๒ สร้างสรรค์เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ โดย ท่านพระครูธีรสุตคุณ เจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช )
Edit: thongkrm_virut@yahoo.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น